วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

ความรู้เกี่ยวกับ Web Application, Search Engine

เว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) คืออะไร ? ส่วนมากเรามักจะคุ้นเคยกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ติดตั้ง โปรแกรมพวก Microsoft Office ที่ประกอบด้วย Word ที่สำหรับพิมพ์เอกสาร Excel สำหรับสร้างตารางคำนวณ โปรแกรมพวกนี้เราจะเรียกมันว่า Desktop Application ซึ่งจะติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องใครเครื่องคนนั้น หรือโปรแกรมสำหรับงานบัญชี ที่บางหน่วยงานติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นลักษณะ Client-Server Application โดยเก็บฐานข้อมูลไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ (Server) และติดตั้งตัวโปรแกรมบัญชีที่เครื่องใช้งาน (Client) ซึ่งตอบสนองความต้องการเพิ่มขึ้นในด้าน Multi-User หรือใช้งานพร้อมๆกันได้หลายๆคน โดยใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เก็บฐานข้อมูลไว้ที่ส่วนกลาง เทคโนโลยี Desktop Application ไม่สามารถตอบสนองความต้องการการบริหารจัดการได้ โดยเฉพาะการทำธุรกิจที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา ข้อมูลมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เพื่อตอบสนองภาวะตลาดที่แปรเปลี่ยน ระบบ Client-Server Application ตัวโปรแกรมมีความซับซ้อน การแก้ไข การ Upgrade ทำได้ยุ่งยาก อย่างกรณี หากต้องการ Upgrade หรือเพิ่มคุณสมบัติเพิ่มเติมให้กับ Application ที่ตัวเซิร์ฟเวอร์ต้องหยุดระบบทั้งหมด และเมื่อ Upgrade ที่เซิร์ฟเวอร์แล้ว ก็จำเป็นต้อง Upgrade ที่ Client ด้วย หากระบบมีผู้ใช้งานจำนวนมาก จะยิ่งเพิ่มความยุ่งยากมากขึ้น นอกจากนี้ยังไม่รวมปัญหาว่า ที่เครื่อง Client มีความหลากหลายและแตกต่างกัน เช่น OS (Operating System) ที่ต่างกัน สเปคเครื่องที่แตกต่างกัน ซึ่งหากการ Upgrade แล้วมีความจำเป็นต้องใช้สเปคเครื่องที่สูงขึ้นที่ฝั่ง Client จำเป็นต้อง Upgrade ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตามไปด้วย จากตัวอย่างปัญหาเหล่านี้ ถูกจัดการด้วยเทคโนโลยี Web Application (เว็บแอพพลิเคชั่น) เพราะ Web Application สามารถตอบสนองปัญหาข้างต้นได้เป็นอย่างดี และสามารถแทนที่ Desktop Application ที่เป็น Client-Server Application ได้เป็นอย่างดี ตัวโปรแกรมของ Web Application จะถูกติดตั้งไว้ที่ Server คอยให้บริการกับ Client และที่ Client ก็ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม สามารถใช้โปรแกรมประเภท Brower ที่ติดมากับ OS ใช้งานได้ทันที อย่าง Internet Explorer หรือโปรแกรมฟรี ได้แก่ FireFox, Google Chrome ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ด้วยความสามารถของ Brower ที่หลากหลาย ทำให้ไม่จำกัดว่าเครื่องที่ใช้เป็น OS อะไร หรืออุปกรณ์อะไร อย่างอุปกรณ์ TouchPad หรือ SmartPhone ก็สามารถเรียกใช้งานได้ ลดข้อจำกัดเรื่องสถานที่ใช้งานอีกด้วย จุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือข้อมูลที่ส่งหากัน ระหว่าง Client กับ Server มีปริมาณน้อยมาก ทำให้เราสามารถย้ายเซิร์ฟเวอร์ไปอยู่บนเครือข่าย Internet ได้ และสามารถใช้งานผ่าน Internet Connection ที่มีความเร็วต่ำๆได้ จุดเด่นนี้ทำให้ สามารถใช้ Application เหล่านี้จากทุกๆแห่งในโลกได้ การค้นหาข้อมูล (Search Engine) หมายถึง การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่ รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ Web search engine ที่นิยมใช้กันมากที่สุด 3 อันดับ คือ 1. Google 2. Yahoo 3. MSN/Windows Live ประเภทของการค้นหาข้อมูล Search Engine 1. Search Engine การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจง Search Engine ประเภทนี้ ช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด เพียงแค่ระบุคำที่ต้องการค้นหาข้อมูล เป็นรูปแบบที่นิยมมาก เว็บไซต์ที่นิยมใช้ในการค้นหาข้อมูลในแบบนี้ เช่น www.google.co.th 2. Subject Directories การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ มีเว็บไซต์ที่เป็นตัวกรองในการรวบรวมข้อมูล ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกข้อมูลตามที่ต้องการได้ การค้นหาข้อมูลวิธีนี้มีข้อดี คือ สามารถเลือกจากชื่อไดเรกทอรี่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหา และสามารถเลือกเข้าไปดูว่ามีเว็บไซต์บ้างได้ทันที เช่น www.sanook.com 3. Meta search Engines การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล เป็นการค้นหาข้อมูลจากหลาย ๆ Search Engine ในเวลาเดียวกัน เพราะเว็บไซต์ที่เป็น Meta search จะไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะค้นหาเว็บเพจที่ต้องการ โดยวิธีการดึงจากฐานข้อมูลของ Search Site จากหลายแหล่งมาใช้แล้วจะแสดงผลให้เลือกตามความต้องการ เช่น www.thaifind.com การค้นหาโดยใช้ Search Engine แบ่งเป็น 2 วิธี 1. การระบุคำเพื่อใช้ในการค้นหา หรือเรียกว่า "คีย์เวิร์ด (Keyword) โดยในเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลจะมีช่องเพื่อให้กรอกคำที่ต้องการค้นหาลงไป แล้วจะนำคำดังกล่าวไปค้นหาจากข้อมูลที่ได้จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบ เว็บไซต์ที่ให้บริการ เช่น www.google.co.th การใช้คีย์เวิร์ดในการค้นหาข้อมูลต้องพยายามระบุคำให้ชัดเจน 2. การค้นหาจากหมวดหมู่ หรือไดเรกทอรี่ (Directories) การให้บริการค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้เปรียบเสมือนเราเปิดเข้าไปในห้องสมุด ที่จัดหมวดหมู่ของหนังสือไว้แล้ว ภายในหมวดใหญ่นั้น ๆ ประกอบด้วยหมวดหมู่ย่อย ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือแบ่งประเภทของข้อมูลให้ชัดเจน จะสามารถเข้าไปหยิบหนังสือเล่มที่ต้องการได้แล้วก็อ่านเนื้อหา มีเว็บมากมายที่ให้บริการค้นหาข้อมูลในรูปแบบนี้ เช่น www.siamguru.com www.sanook.com www.hunsa.com www.thaiwebhunter.com บทสรุปของการเลือกใช้ Search Engine การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เป็นการบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทีแหล่งข้อมูลอยู่มากมาย และมีความสะดวกในการค้นหามากกว่าการค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะต้องใช้เว็บไซต์ประเภท Search Engine เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลข่าวสารได้ ประเภทของการค้นหาข้อมูลแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจง การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ และการค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล ผู้ใช้สามารถเลือกวิธีการค้นหาและใช้เทคนิคในการค้นหาข้อมูลช่วย เพื่อที่จะได้รับข้อมูลให้ตรงตามความต้องการและทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้เร็วขึ้นอีกด้วย ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บไซต์ประเภท Search Engine และเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลอยู่หลายเว็บไซต์ ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น และการใช้บริการรูปแบบนี้เสมือนเป็นการเปิดประตูห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลอยู่มากมาย ทำให้ข้อมูลที่ได้รับไม่เฉพาะเจาะจงอยู่เพียงในขอบเขตใดขอบเขตหนึ่งเท่านั้น แต่สามารถหาได้จากหลายแหล่งข้อมูลทั่วโลก ที่มา http://www.aicomputer.co.th/sArticle/002-what-is-Web-Application.aspx http://www.shc.ac.th/shc_media_online/media_m4/information/information2.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น