วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

ความหมายคำศัพท์ WAP, WIFI, ISP, HTML, GPRS, CDMA, Bluetooth

WAP ( Wireless Application Protocol ) เป็น Protocol ที่เป็นมาตรฐานสากล ที่เกิดจากความร่วมมือกันของ หลายๆบริษัท ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ เพื่อนำเอาลูกเล่นหรือ ความสามารถ ต่างๆ ของ Wireless Application และ ของทางด้าน Internet ให้มาใช้ได้ บนเครื่องโทรศัพท์มือถือ WAP จะทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ใช้งานทางด้าน Internet ทั่วๆไปได้ เหมือนๆกับใช้งานผ่านทาง เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยที่ WAP นั้นไม่ต้องการ CPU ที่มีประสิทธิภาพ สูงๆ ไม่ต้องการหน่วยความจำมากๆ ไม่ต้องการแหล่งพลังงานมาก แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่หลายเรื่องด้วยเช่นกันที่อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกแปลกและ ติดขัดบ้าง เช่น ข้อจำกัดด้าน Bandwidth, มี Display ขนาดเล็ก และ มีส่วนของการป้อนข้อมูลเข้า ( Input ) ที่แตกต่างจากการใช้งาน บนคอมพิวเตอร์อยู่พอสมควร แต่จุดเด่นของ WAP นั้น ก็คือทำให้ ใช้งานได้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งสามารถพกพา หรือนำไปใช้งาน ณ ที่ไหนๆ ก็ได้ ซึ่งจุดนี้ ก็น่าจะหักล้างกับข้อจำกัดต่างๆลงได้ WAP นั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ไม่จำกัดเพียงแค่โทรศัพท์มือถือเท่านั้น หากยังรวมไปถึง วิทยุติดตามตัว ( Pager ), วิทยุรับส่งที่เรียกว่า Two-Way Radio, Smartphone และรวมไปถึงอุปกรณ์สือสารต่างๆ ตั้งแต่ระดับ Low-End จนถึง High-End เลยทีเดียว ซึ่ง ระบบ Network ที่ใช้กับ WAP ได้นั้น ก็ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้ง CDPD, CDMA, GSM, PDC, PHS, TDMA, FLEX, ReFLEX, iDEN, TETRA, DECT, DataTAC และ Mobitex. WAP เป็น Protocol สำหรับการสื่อสาร ซึ่งสามารถใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ ( OS : Operating ) ต่างๆ ได้หลากหลาย ทั้ง PalmOS, EPOS, Windows CE, FLEXOS, OS/9, JavaOS และอื่นๆ อีก WAP นั้นจะช่วยสนับสนุน Bearer หลักๆ ในการส่ง Message เช่น Short Message Service ( SMS ) , Circuit Switched Data, Unstructured Supplementary Services Data ( USSD ) และ ในอนาคตอันใกล้ ก็จะสนับสนุน General Packet Radio Services ( GPRS ) อีกด้วย และ นอกจากนี้ ก็ยังมีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่างๆ มาใช้กับโทรศัพท์มือถือ มากขึ้น โดยอาศัย WAP และ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการส่ง Message เข้ามาช่วยในการทำงานอีกด้วย เช่น HSCSD, EDGE และ WCDMA Wi-Fi คือ องค์กรหนึ่งที่ทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless LAN หรือระบบ Network แบบไร้สาย โดยพัฒนา จากสถาบันวิศวกรไฟฟ้า และ อิเล็คโทรนิค หรือ Institute of Electrical and Electronics Engineering (IEEE) นั่นเอง เลยทำให้กลายเป็นศัพท์ใหม่ที่เห็นกันบ่อยๆว่า IEEE 802.11 ซึ่งก็ได้มีการพัฒนากันมาเรื่อยจาก 802.11 ธรรมดามาเป็น 802.11b 802.11a 802.11g ซึ่งมันจะต่างกัน เรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลเป็นหลัก ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารภายใต้มาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งอุปกรณ์ทุกตัวที่ต่างยี่ห้อกันนั้นจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ประสบปัญหา หากอุปกรณ์นั้นผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานก็จะมีการประทับตรา Wi-Fi Certified ซึ่งหมายความว่า อุปกรณ์ตัวนี้สามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายกับ อุปกรณ์อื่นที่มีตรา Wi-Fi Certified ได้ แล้วจึงกลายมาเป็นคำศัพท์ของอุปกรณ์ LAN ไร้สาย ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความคล่องตัวมาก ซึ่งอาจจะนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ ทะลุกำแพง เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย ที่สำคัญก็คือ การที่มันไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น Notebook ตัวนี้ หรือ PDA ตัวนี้มันมี Wi-Fi นั่นก็หมายความว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้น มันสามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องตัวอื่นในระบบ Network แบบไร้สายได้ โดยอยู่ภายใต้ มาตราฐานเทคโนโลยี 802.11สำหรับเลข 802.11 นั้นเป็น เทคโนโลยีมาตรฐานแบบเปิดซึ่งกำหนดโดย Institute of Electrical and Electronics Engineers : IEEE โดยเลขหลักตัวหน้าจะเหมือน ๆ กันแต่ความแตกต่างของเทคโนโลยีจะกำหนดด้วยตัวอักษรด้านหลัง เช่น 802.11b , 802.11a , 802.11g มาตรฐาน 802.11b ถือเป็นมาตรฐาน Wi-Fi ตัวแรก ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 11 เมกะบิตต่อวินาทีโดยใช้ช่วงความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ครอบคลุมพื้นที่ทำการในระยะ 150 เมตร นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายตัว อาทิ 802.11a และ 802.11g แต่ในบ้านเราอาจไม่สามารถใช้งาน 802.11a ที่มีความเร็วสูงถึง 54 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะ 100 ฟุตได้ เนื่องจากส่งสัญญาณในย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลข ส่วน 802.11g ไม่มีปัญหาอะไร เพราะใช้ย่านความถี่เดียวกับ 802.11b แต่ต่างกันตรงที่เร็วกว่ากันถึง 5 เท่า ผู้ให้บริการเครือข่ายสาธารณะความเร็วสูง ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเครือข่ายสารธารณะความเร็วสูงจำนวนมาก เช่น CS Loxinfo, KSC,True เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับคนที่ต้องการ Online ตลอดเวลา CS Loxinfo ให้บริการ Shin Hot Spot โดยมีการใช้เทคโนโลยีบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมที่ทันสมัยของไอพี สตาร์ ช่วยทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตในสถานที่ต่างๆ มีความเร็วสูงได้ถึง 256 KB สำหรับพื้นที่ที่ให้บริการมีทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด KSC คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เนต จำกัด ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอันดับหนึ่ง ของประเทศไทย ได้ประกาศจับมือ ไอพาส (iPass) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเครือข่าย Wi-Fi ชั้นนำของโลก เปิดบริการโรมมิ่งขาเข้า จับกลุ่มลูกค้านักธุรกิจและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เดินทางมาเมืองไทยให้ความสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ทันทีที่ผ่านบริการ KSC Hot Spot ในพื้นที่ให้บริการกว่า 70 แห่ง ทั่วประเทศ นอกจากนี้ KSC ยังเพิ่มจุดบริการ KSC Hot Spot อินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็ว สูงในร้านสตาร์บัคส์ทุกสาขาอีกด้วย True มีบริการ True Wi-Fi ที่มี Hot Spot อยู่ตามร้านอาหารและสถานที่ต่างๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายให้เลือกเป็นแบบจ่ายเป็นรายเดือน และระบบ Prepaid นอกจากนี้ True ได้ร่วมมือกับบริษัท เมโทรสตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และคอนโดมิเนียม จัดตั้งโครงการ Cyber Home by True ที่มุ่งให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายระดับกลางถึงระดับสูงที่ต้องการมีอสังหาริมทรัพย์ที่มีเทคโนโลยีสมัยมาติดตั้งการสื่อสารครบวงจร ตอบสนองทั้งธุรกิจและการดำเนินชีวิตประจำวันของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมายของ Wi-Fi กลุ่มเป้าหมายหลักของ Wi-Fi นี้ได้แก่ผู้ที่ต้องติดต่อประสานงานบ่อย ๆ ทั้งอาจจะต้องเดินทางออกนอกสถานที่ ฯลฯ ซึ่งทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานนอกสถานที่ และได้มีการคาดหมายว่า ภายในปี 2007 จะมีประชาการโลกกว่า 20 ล้านคนที่หันมาใช้อินเตอร์เน็ตไร้สาย ซึ่งปัจจุบันมีจุดบริการเพิ่มขึ้นมากมาย นอกจากนี้สายการบินหลายสายเช่น Lufthansa, SAS, United, Delta ได้เริ่มติดตั้งจุดให้บริการ Wi-Fi บนเครื่องบิน ซึ่งแหล่งข่าวจาก CNN รายงานว่า บางสายการบินมีการคิดค่าบริการด้วย ในขณะที่อีกหลายสายไม่มีการคิดค่าบริการในส่วนนี้ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถเพิ่มยอดการใช้บริการได้ สำหรับการให้บริการอีเมลบนเครื่องบินนั้นจะใช้เซิร์ฟเวอร์ทำการเชื่อมโยงกับเครือข่ายระบบดาวเทียม และใช้ Routing System ในการปรับค่าสัญญาณที่ได้ก่อนจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครื่องแลปทอปของผู้โดยสารผ่านทางการ์ดเน็ตเวิร์กแบบไร้สาย ผลก็คือมีผู้สนใจใช้บริการจุด Hot Spot เป็นอย่างมาก และสามารถเพิ่มยอดรายได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน ISP (Internet Service Provider) ความหมายว่า ”ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต” ISP เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ 1. หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น 2. บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย HTML (Hypertext Markup Langauge) เป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้สำหรับสร้างWeb Page ซึ่งจะถูกแปลความหมายและแสดงผลด้วย Web Browser และจะแสดงได้ทั้งข้อมูล ที่เป็น ข้อความ เป็นเสียง เป็นภาพ และภาพเคลื่อนไหว เช่น VDO หรือภาพยนต์ ที่เรามองเห็นใน Internet . ( ภิญญู กำเนิดหล่ม, 2546: 7) อ่านและ แปลตามคำ ได้ดังนี้ Hyper (ไฮเปอร์ ) มากมิติ Text (เทคซฺทฺ) ข้อความ Markup (มาร์ค'อัพ) ปริมาณ Language ( แลง'เกว็จฺ) ภาษา ( แปลจากโปรแกรมแปล Dicthope ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ) HTML เป็นภาษาที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ โดยใช้แท็กในการกำหนดโครงสร้างและลักษณะของข้อความหรือรูปภาพ โครงสร้างของภาษา HTML ประกอบด้วยส่วนหัว และส่วนเนื้อหาซึ่งผู้ใช้สามารถใช้คำสั่งต่าง ๆ กันไป การตกแต่งเว็บเพจอาจทำได้โดยการใส่สีพื้น สีตัวอักษร และกำหนดขนาดตัวอักษรการสร้างตาราง การสร้างแหล่งเชื่อมโยง การใช้ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวประกอบในเว็บเพจซึ่งจะทำให้เว็บเพจดูสวยงาม GPRS ย่อมาจาก General Packet Radio Service นี้ไม่ใช่สิ่งใหม่แต่ประการใดในแวดวงโทรคมนาคม ซึ่งจะจัดให้มันอยู่ในเจนเนอเรชั่นที่ 2.5 G สำหรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ (โดย 1 G หมายถือโทรศัพท์มือถือระบบอนาล็อก, 2 G หมายถึง โทรศัพท์มือถือดิจิตอลปัจจุบันที่เราใช้อยู่) GPRS นั้นถือว่าเป็นบริการใหม่ที่ล้ำสมัยของโทรศัพท์มือถือที่ไม่จำกัดตัวเองอยู่แค่การใช้เสียงเท่านั้น โดยมันมีความสามารถในการส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ได้ด้วยความเร็วในระดับ 172 Kbps (ขณะที่โทรศัพท์มือถือดิจิตอลธรรมดาส่งได้ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps) ซึ่งความเร็วที่สูงระดับนี้สามารถรองรับกับ การใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา และอีกไม่นานเราคงจะได้เห็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบย่อ ในมือคุณไม่ว่าจะเป็นการ Chat, Web, Browsing, FTP หรือ E-mail GPRS ได้ถูกกำหนดเป็นมาตรฐาน และมีกำหนดการที่จะออกใช้งานทั่วโลก โดยเริ่มมีการวางระบบเพื่อรองรับการใช้งานงานตั้งแต่ปี 2000 โดยปี 2001 นั้นจะเริ่มทดสอบให้บริการที่ความเร็ว 56 Kbps และ 112 Kbps ก่อน โดยทั้งหมดจะทำงานอยู่บนเครือข่ายโทรศัพท์ GSM เดิม (แต่ตัวเครื่องโทรศัพท์ GSM เดิม จะไม่สามารถใช้งานกับ GPRS ได้) จากนั้นในปี 2002 จะเข้าสู่ยุคของ 3G เสียที GPRS คืออะไร? - เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นบนเครือข่ายเดิม เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น - เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบรวดเร็ว ซึ่งใช้ได้กับเครือข่ายระบบ GSM ช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับการติดตั้ง และทำให้ระยะเวลาในการส่งข้อมูลรวดเร็วยิ่งขึ้น - เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาเพื่อการใช้ Mobile Internet ด้วยความสะดวกยิ่งขึ้น ทำให้ท่านสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก และง่ายดายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ - นวัตกรรมใหม่ที่ทำให้การส่งข้อมูลมีประสิทธิภาพ ด้วยความเร็วจากเดิมเพียงแค่ 9.6 Kbps เป็น 40 Kbps ช่วยให้ท่านสามารถเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตได้ภายในเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ - การส่งข้อมูลแบบใหม่ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งจะประกอบไปด้วยรูปภาพที่เป็นกราฟฟิก เสียงและวิดีโอ เช่นการใช้ Video Conference ทำไมต้อง GPRS? - เพราะ GPRS ช่วยให้ส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แม้ในช่วงเวลาที่มีการใช้อินเตอร์เน็ตมาก - เพราะ GPRS ทำให้ท่านเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าคุณอยู่ที่ใด และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย - เพราะ GPRS ช่วยให้ท่านไม่ขาดการติดต่อ ท่านสามารถรับส่งเมล์ได้อย่างรวดเร็ว หรือแม้กระทั่งเล่น ICQ การพัฒนาเทคโนโลยี หลัง จากที่วงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้มีการพัฒนาด้านการสื่อสารข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือ และ None Voice Application อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถสื่อสารได้ทุกรูปแบบอย่างไร้ขีดจำกัดในระหว่างเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารด้วยเสียงหรือข้อมูล ดั้งนั้น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จึงได้พัฒนา และนำเทคโนโลยีอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น 1. Short Message Service (SMS) - การใช้เทคโนโลยี SMS หรือการส่งข้อความที่กำลังได้รับความนิยมกันทั่วไปมากขึ้นทุกวันในบ้านเราขณะนี้ - Sim Tool Kit โดยใช้ Sim Card ที่ทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้พัฒนา และเพิ่มเติมบริการไว้ให้ใช้งานและบริการต่าง ๆ ง่ายมากยิ่งขึ้น 2. Circuit Switched Data (CSD) - WAP หรือ Wireless Application Protocol ที่สามารถ Connect กับโลกของข่าวสารข้อมูลกับ Wap Site ต่าง ๆ ได้ทั่วโลกแม้กระทั้งในรูปแบบของ Wireless Internet แต่อย่างไรก็ตามทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ยังเล็งเห็นว่า การโอนถ่ายสื่อสารข้อมูลของโทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่ ยังมีข้อจำกัดในด้านความเร็วการรับส่ง และรวมไปถึงปริมาณข้อมูลที่สามารถทำ การรับจึงได้เริ่มพัฒนาแก้ไขเพื่อที่จะเพิ่มเติมบริการตรงส่วนบกพร่องนี้ให้ดีขึ้น จึงได้เริ่มนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS (General Packet Radio Service) GPRS (General Packet Radio Service)ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลต่างๆในรูปแบบแพ็กเก็ตต่าง ๆ การเชื่อมต่อแบบใหม่ที่ใช้ระบบGPRSเข้ามาก็จะเป็นการเชื่อมต่อ และวิธีการส่งข้อมูลที่มีลักษณะเช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ตก็คือ เมื่อต้องการข้อมูลหรือส่งข้อมูลอะไรก็แล้วแต่ ก็จะเป็นการส่งข้อมูลลักษณะนั้น เข้าไปในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องจองเวลาไว้ตลอดเวลา จึงทำให้วิธีการใช้งานของ GPRS ในแบบใหม่นี้จะเห็นได้ว่าจะมีการพูดถึง การเก็บเงินที่เป็นจำนวนข้อมูลที่รับ และส่งออกมา มากกว่าวิธีการติดต่อสื่อสารจากวิธีเดิมที่คิดจำนวนเวลาในการติดต่อสื่อสารแต่ละครั้ง การติดต่อด้วยระบบ GPRS ยังสามารถติดต่อสื่อสารด้วยเสียง ในขณะที่เราสามารถติดต่อสื่อสารผ่านโลกอินเตอร์เน็ตในขณะเดียวกัน ซึ่งก็คือ เราสามารถติดต่อสื่อสารทั้ง 2 ระบบ ภายในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ในแต่ละรุ่นที่ผลิตออกมา แต่เท่าที่ทราบในขณะนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละรุ่นยังไม่สามารถติดต่อสื่อสารพร้อม ๆ กันได GPRS เชื่อมโลกอินเตอร์เน็ต บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ GPRS ไม่ได้เป็นลักษณะที่จะสามารถให้บริการได้ด้วยตัวของระบบเอง แต่ตัวมันเองเป็นเพียงแค่ Bearer ให้กับ Application ต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ความเร็วที่เพิ่มมากกว่าปกติในระบบ GSM ที่เคยรองรับอยู่เดิมมาก่อน และระบบ GPRS จะต้องต่อไปยัง Packet Data Network ที่เป็น IP Network อีกต่อหนึ่ง ดังนั้นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่จะเปิดใช้ในระบบ GPRS ได้นั้นจะต้องทำการติดตั้งระบบเครือข่าย ที่ประกอบด้วยหน่วย หลัก ๆ 2 หน่วยด้วยกัน คือ 1. SGSN (Serving GPRS Supports Node) 2. GGSN (Gateway GPRS Supports Node) โดยทั้งสองหน่วยหลักขององค์ประกอบนี้ จะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยมีอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นตัวช่วยเพื่อไปร่วมใช้ Radio Interface จาก Base Station โดยผ่านตัวควบคุม ที่เรียกว่า PCU (Packet Control Unit) ที่ติดตั้งไว้ที่ BSC(Base Station Controller) อันทั้งนี้อาจมองNetwork เป็นอีก Network หนึ่ง ซึ่งเข้ากับ Mobile Phoneผ่านทาง Radio Interface ของระบบ GSM Network เดิมโดยเป็นบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการรับส่งข้อมูลเป็น Packetโดยตรง คุณสมบัติเด่นหลัก ๆ ของระบบ GPRS คือ 1. การโอนถ่ายข้อมูลที่มีความสามารถในการ รับ- ส่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้สูงถึง 9 - 40 kbps ซึ่งจะทำให้สามารถรับ- ส่งข้อมูลที่เป็น VDO Mail หรือ ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆได้ พร้อมทั้งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้เร็ว และมีประสิทธภาพมากกว่าเดิมรวมถึงการ Down lode/Up lode ได้ง่ายยิ่งขึ้น 2. Always On การเชื่อมต่อเครือข่ายและโอนถ่ายข้อมูลสามารถดำเนินต่อไป แม้ในขณะที่มีสายติดต่อเข้ามาก็ตาม จึงทำให้การโอนถ่ายข้อมูลไม่ขาดตอนลง 3. Wireless Internet ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Terminal เช่น PDA หรือ Note Book สามารถที่จะโอนถ่ายข้อมูลได้เร็วขึ้นจากที่เคยเป็นอยู่ ประโยชน์ของ GPRS - ประหยัดค่าใช้จ่าย เทคโนโลยี GPRS จะทำให้การคิดอัตราค่าบริการในการใช้อินเตอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในการรับ และส่งข้อมูล ไม่ใช่ช่วงเวลาในการเชื่อมต่อ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ จ่ายเพียงแค่อัตราค่าบริการในการดาวน์โหลด และอัพโหลดเท่านั้น - รวดเร็วยิ่งขึ้น GPRS จะช่วยให้ท่านเชื่อมต่อ และรับข้อมูลจ่าง ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ GSM ทั่วไป ทำให้การเข้าสู่ web หรือการรับส่งe-mail เป็นไปอย่างสะดวก และง่ายดาย - คุ้มค่า เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อย แต่รับผลตอบแทนจากการรับ-ส่งข้อมูลอย่างมากมาย - น่าใช้ GPRS ทำให้ท่านได้รับข้อมูลในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบข้อความ หรือรูปแบบมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบไปด้วยรูปภาพ เสียง และวีดิโอ ทำให้การติดต่อสื่อสารของคุณผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ซ้ำซากอีกต่อไป GPRS ดีกว่าระบบ GSM เดิมอย่างไร? - ความเร็วที่เพิ่มขึ้น จาก 9.6 Kbps เป็น40 Kbps - สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา (Always On) โดยไม่เสียค่าบริการ และยังสามารถโทรออก และรับสายโทรเข้าได้ ในขณะที่คุณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ - เสียค่าบริการจากจำนวนข้อมูลที่เราทำการรับ หรือส่ง (Download หรือ Upload) เท่านั้น - สามารถรับข้อมูลในรูปแบบของ Multimedia ได้ เช่นการชม Video Clip ผ่านทางอุปกรณ์ PDA ได้ บริการในระบบ GPRS ด้วยโทรศัพท์มือถือในระบบ GPRS คุณสามารถเข้าสู่บริการ non voice ที่หลากหลายจาก mobileLIFE โดยบริการใหม่ล่าสุดคือบริการ mClose2me, mDiscount, และ Advanced Mail จาก mMail นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้บริการอื่นๆที่มีอยู่เดิม เช่น mInfo, mEntertain, mBanking, mMail, mChat, mShopping และ mMessaging ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นได้อีกด้วย มากไปกว่านั้นคือถ้าคุณใช้โทรศัพท์มือถือระบบ GPRS ต่อเชื่อมเข้ากับ PDA หรือ Computer Notebook ของคุณ คุณจะสามารถ Browse สู่โลกอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายดายทุกที่ ทุกเวลา และคุณยังสามารถรับข้อมูล ข่าวสารในรูปแบบของ Video ไม่ว่าจะเป็นรายการกีฬา, ละคร, ข่าว, และ ข้อมูลสภาพการจราจร ที่จะทำให้ชีวิตของคุณ ต่อติดกับโลกที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ รูปแบบการให้บริการของ GPRS - Textual And Visual Information บริการนี้เป็นจุดแตกต่างอย่างแรกที่ GPRS เหนือกว่า GSM ทั่วไป โดยสามารถส่งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพกราฟิกไปยังโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกรวดเร็วซึ่งจะทำให้ GPRS แทรกซึมเข้าสู่การใช้งานของคนทั่วไป ได้ทั้งข่าวความเคลื่อนไหว, ข้อมูลที่คนส่วนใหญ่สนใจ รวมทั้งบริการต่างๆ ที่จะเสริมเข้ามาในอนาคต - Still Images เป็นการส่งภาพนิ่งความละเอียดสูงไปมาระหว่างเครื่องด้วยกันได้ ทำให้สามารถส่งผ่านความรู้สึกดีๆ ผ่านภาพถ่าย หรือการ์ดอวยพรได้เลย รวมทั้งภาพที่ถ่ายได้จากกล้องดิจิตอล ก็สามารถโอนแล้วส่งต่อไปได้ทันที - Moving Images นอกเหนือจากภาพนิ่งแล้ว ภาพเคลื่อนไหวก็สามารถส่งต่อกันไปได้เช่นกัน เช่น การประชุมทางไกล หรือ การส่งภาพจากกล้องวงจรปิดไปยังโทรศัพท์มือถือ ในกรณีประยุกต์ใช้กับระบบรักษาความปลอดภัย - Chat เป็นคุณสมบัติที่คงจะถูกใจของผู้รักการคุยแบบไม่ใช้เสียง ซึ่งสามารถสนทนากันได้ทั้งแบบเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มได้อย่างสบายใจ ซึ่งจุดเด่นที่สำหรับ สามารถ Chat ได้ทุกที่ที่อยากจะ Chat - Web Browsing เป็นการเข้าสู่ World Wide Web ด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งความเร็วมีให้เลือกตั้งแต่ 56 Kbps ไปจนถึง 112 Kbps การท่องเว็บจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แม้รูปแบบการแสดงผลจะแตกต่างจากการท่องเว็บ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง - E-Mail เป็นบริการพื้นฐานที่มีคนนิยมใช้งานมากที่สุดสำหรับการส่งข้อความ โดยจะมีการใช้ในรูปของ SMS (Short Message Service) ที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว - File Transfer เป็นบริการโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลซึ่งน่าจะใช้งานกันอย่างแพร่หลายขึ้น GPRS เพราะความเร็วดูจะเหนือกว่าการใช้งานผ่านโมเด็ม กับโทรศัพท์พื้นฐานที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาก โดยจะรองรับกับโปรโตคอล FTP และแอพพลิเคชั่นที่อ่านข้อความอย่าง Acrobat Reader - Audio แน่นอนว่าโทรศัพท์ต้องมีเสียง แต่บริการด้านเสียงของ GPRS จะเหนือกว่าโทรศัพท์มือถือเดิม ๆ ที่เรารู้จัก เนื่องจากความคมชัดของสัญญาณเสียงที่เหนือกว่า และยังประยุกต์ใช้ในการเก็บไฟล์เสียงเพื่อนำไปใช้งานในด้านต่างๆ ด้วย เช่น การวิเคราะห็รายละเอียดของเสียงในงานของตำรวจ เป็นต้น - Remote LAN Access เราสามารถเข้าถึงเครือข่ายความพิวเตอร์ โดยใช้โทรศัพท์มือถือ แทนเบอร์โทรศัพท์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านได้อย่างง่ายดาย ซึ่งความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลจะเหนือกว่าโทรศัพท์พิ้นฐานทั่วไป - Vehicle Positioning เป็นความสามารถในการบอกตำแหน่งของยานพาหนะที่เราใช้อยู่ โดยจะสามารถเชื่อมต่อกับดาวเทียม ซึ่งจะสามารถบอกตำแหน่งที่เราอยู่โดยอ้างอิงกับ เครื่องโทรศัพท์มือถือได้อย่างแม่นยำ CDMA (Code Division Multiple Access) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กับโทรศัทพ์เคลื่อนที่แบบหนึ่งซึ่ง ข้อมูลที่ส่งออกมาจากสถานีฐานจะประกอบด้วยข้อมูลของผู้ใช้หลายคน ในระบบ CDMA นี้ผู้ใช้แต่ละคนจะได้รับ code ชุดหนึ่งที่ไม่เหมือนกับ code ของผู้ใช้คนอื่น เมื่อใช้ code ดังกล่าวถอดรหัสสัญญาณจากสถานีฐาน ทำให้ผู้ใช้แต่ละคนได้รับข้อมูลในส่วนของตัวเองได้ CDMA เป็นเทคโนโลยีที่แก้ไขข้อจำกัดของการสื่อสารแบบไร้สายในปัจจุบันด้วยวิธี ง่ายๆและมีประสิทธิภาพ โดยระบบCDMAจะแปลงเสียงเป็น รหัสเฉพาะในรูปของแพ็กเกจจากนั้นสัญญาณรหัสของการพูดทั้งหมดจะถูกจัดสรรให้ กระจายไปยังช่วงกว้างๆ ของย่านความถี่สัญญาณรบกวนอื่นๆ นอกเหนือจากคำสนทนาจะถูกดึงออกที่ปลายทาง โดยรหัสที่ระบุไว้แล้ว เมื่อกลุ่มสัญญาณนี้เดินทางมาถึงเครื่องรับสัญญาณเสียงหรือข้อมูลที่ได้รับ มานี้จะถูกนำมารวบรวมในรูปของคำสนทนาก่อนที่สัญญาณจะถูกส่งด้วยเทคนิคนี้จึง สามารถทำให้ระบบนี้สามารถรองรับจำนวนการโทรเข้าออกได้หลายๆ การสนทนาในเวลาเดียวกันภายในการส่งสัญญาณ ผ่านย่านคลื่นวิทยุเพียงหนึ่งคลื่น ผลก็คือระบบ CDMA จะสามารถรองรับปริมาณคู่สายได้จากการใช้ระบบCDMA CDMA (Code Division Multiple Access) หรือ นิยมเรียกกันว่า IS-95 ซึ่งชื่อ อย่างเป็นทางการคือ TIA/EIA-95B บริษัท Qualcomm จาก Sandi ago, California USA เป็น ผู้พัฒนาระบบ CDMA โดยใช้ Spread Spectrum Technique Spread Spectrumไม่ได้ให้ช่องสัญญาณ หรือ แบ่งเป็น Timeslot เช่นระบบ TDMA แต่ CDMA ใช้วิธีให้ทุกคนใช้ความถี่เดียว กันพร้อมๆ กัน เช่นเดียวกับ สถานีวิทยุที่ออกอากาศ ในความถี่ เดียวกัน ในเวลาและสถานที่เดียวกัน CDMA เป็นเทคโนโลยีเซลลูล่าร์ดิจิตอลที่ใช้เทคนิคสเปรดสเป็กตรัม ไม่เหมือนกับระบบอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่งซึ่งใช้ TDMA เช่น GSM แต่ CDMA ไม่กำหนดความ ถี่เฉพาะสำหรับผู้ใช้แต่ละคน แต่ทุกช่องสัญญาณจะใช้สป็กตรัมที่มีทั้งหมดจนเต็ม Code Division Multiple Access หรือ CDMA เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท ควอลคอมม์ ซึ่งระบบซีดีเอ็มเอ จะทำหน้าที่แปลงคำพูดเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล และส่งผ่านข้อมูลในรูปของสัญญาณวิทยุไปบนเครือข่ายไร้ สาย เนื่องจากระบบซีดีเอ็มเอ มีการใช้รหัสที่มีลักษณะเฉพาะในการระบุการโทรแต่ละครั้ง จึงสามารถรองรับผู้ใช้โทรศัพท์จำนวนมากในเวลาเดียวกัน โดยไม่เกิดปัญหาสัญญาณหลุด สัญญาณรบกวน หรือคลื่นแทรก ระบบซีดีเอ็มเอเริ่มเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ ในปี ค.ศ.1995 และกลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีโทรศัพท์ เคลื่อนที่ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดของโลกปัจจุบันผู้ให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำต่างๆ หลายรายได้นำระบบซีดีเอ็มเอไปใช้ในการให้บริการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูล ความเร็วสูงให้แก่ผู้ใช้โทรศัพท์มากกว่า 212.5 ล้าน รายทั่วโลก เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอ ในช่วงที่เทคโนโลยีระบบการสื่อสารเคลื่อนที่ในยุคที่ 2 ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้นกว่าเทคโนโลยีในยุคแรก นักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มมองหาเทคโนโลยีในยุคแห่งอนาคต เพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในขณะนั้นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายจะสามารถรองรับการสื่อสารด้วยเสียงเท่า นั้น อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีการ สื่อสารในรูปของข้อมูลด้วยการส่งข้อมูลไปในอากาศผ่านระบบเครือข่ายก็มีแนว โน้มในการพัฒนาเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับตลาดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและผู้ให้บริการ ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ.1999 สมาพันธ์โทร คมนาคมระหว่างประเทศ (The International Telecommunication Union) ได้กำหนดมาตรฐานระบบการสื่อสารไร้สายในยุคที่ 3 ให้สามารถรับส่งข้อมูลความเร็วสูงพร้อมทั้งกำหนดคุณสมบัติใหม่ใน ด้านอื่นๆ โดยปรากฎว่า มีเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอถึง 3 ระบบ ที่ได้รับการรับรองให้เป็นมาตรฐานการสื่อสารระดับ 3G และในปัจจุบันมีผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมชั้นนำมากกว่า 902 รายทั่วโลกได้ขอซื้อลิขสิทธิ์ซีดีเอ็มเอไปใช้ในการผลิต อุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐาน 3G (Note 1. ที่มา :CDG.org 2. ที่มา :qualcomm.com ) CDMA2000 1x รอง รับเสียงและข้อมูล เทคโนโลยี CDMA2000 1X สามารถ รองรับการส่งสัญญาณทั้งในรูปของเสียงและข้อมูลผ่านช่องสัญญาณระบบซีดีเอ็มเอ มาตรฐานขนาด 1.25MHz ซึ่งให้ประสิทธิภาพเหนือกว่า เทคโนโลยีอื่นๆ หลายประการ ข้อที่ 1 ระบบซีดีเอ็มเอที่พัฒนาขึ้นใหม่มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบซีดี เอ็มเอในยุคแรกถึง 2 เท่า (รวมทั้งมีประสิทธิภาพเหนือชั้นกว่าระบบทีดีเอ็มเอ และจีเอสเอ็ม) ทั้งยังสามารถรองรับการให้บริการด้านเสียงที่มีปริมาณการใช้งานเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สายในรูปแบบใหม่ๆ ข้อ ที่ 2 ระบบ CDMA2000 1X สามารถรับส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วโดยเฉลี่ยที่ 50-90 kbps (ซึ่งเร็วกว่าความเร็วโดยเฉลี่ยในการต่อสัญญาณ โทรศัพท์) โดยมีอัตราการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 153 kbps โทรศัพท์ระบบ CDMA2000 1X ยังสามารถเปิด เครื่องรอรับสายได้นานกว่า เนื่องจากระบบ CDMA2000 1X ได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอในยุคแรก จึงทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถอัพเกรดระบบของตนได้อย่างง่าย ดายและในราคาประหยัดสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถใช้เครื่องเดิมของตน ติดต่อผ่านโครงข่ายที่ได้รับการอัพเกรดใหม่โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องแต่ อย่างใด CDMA2000 1xEV-DO ส่งข้อมูลความเร็วสูงอย่างมีประสิทธิภาพ การบริการส่งข้อมูลความเร็วสูงหรือต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งข้อมูล ระบบ CDMA2000 1xEV-DO จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถส่ง ข้อมูลได้มากกว่า 2 Mbps โดยมีค่าเฉลี่ยความเร็ว มากกว่า 700 kbps เทียบเท่ากับการส่งสัญญาณด้วยสาย แบบ DSL และมีความเร็วเพียงพอที่จะรองรับการใช้งาน ที่ต้องการประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลความเร็วสูง อาทิ ภาพวิดีโอ และการดาวน์โหลดข้อมูลขนาดใหญ่ ทั้งนี้ การส่งข้อมูลด้วยระบบ CDMA2000 1xEV-DO นับเป็นเทคโนโลยีการส่งข้อมูลที่มีต้นทุนต่ำที่สุด เมื่อคิดเป็นต้นทุนต่อเมกะไบต์ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การใช้อินเตอร์เน็ตไร้สายเป็นที่ แพร่หลายอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ 1xEV-DO ยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลแบบแพคเก็ท "always-on" ซึ่งช่วยให้การใช้ระบบไร้สายมีความสะดวกรวดเร็วและเกิดประโยชน์ มากกว่าที่เคยเป็นมา เมื่อผนวกเทคโนโลยีระบบ 1X และ 1xEV-DO เข้าด้วยกัน (ในกรณีที่จำเป็น) CDMA2000 จึงเป็นโซลูชั่นสมบูรณ์แบบที่มีความยืดหยุ่นและสามารถขยาย ขีดความสามารถให้มีสมรรถนะสูงสุด อีกทั้งมีค่าเฉลี่ยความเร็วในการส่งสัญญาณทั้งข้อมูลและเสียงที่มีความเร็ว สูงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ข้อดี - ข้อเสีย ของระบบ CDMA ข้อ ดีของระบบ CDMA ความ สามารถในการรองรับปริมาณผู้ใช้งาน ที่มากกว่า (Capacity) CDMA เป็นเทคโนโลยีที่แก้ไขข้อจำกัดของการสื่อสารไร้สาย ในเรื่องความจุของช่องสัญญาณ เนื่องจากระบบ CDMA จะ ลดข้อมูลในการส่ง สัญญาณลงเมื่อไม่มีการพูด ดังที่กล่าวถึงในเรื่อง Voice activityเมื่อไม่มีข้อมูลที่จะส่งหรือมีน้อย กำลังส่งจะลดลง สัญญาณรบกวนในระบบมีน้อย และ ความยืดหยุ่น ของรูปแบบการส่งข้อมูล (Radio Configuration) ทำให้ CDMA รองรับผู้ใช้บริการได้มากกว่า และ บริหารทรัพยากรได้เหมาะสมกว่าระบบอื่นๆ การส่งผ่านสัญญาณ ที่ราบรื่น ลดปัญหาสายหลุด (Soft hand-off) การ ส่งผ่านสัญญาณ (Handoff) ของเครือข่าย CDMA ในบริเวณที่มีการ เชื่อมต่อระหว่าง สถานีฐาน เครื่องลูกข่ายจะทำการส่งสัญญาณเชื่อมต่อกับหลายสถานีฐานพร้อมกัน (Soft handoff) เพื่อให้ได้สัญญาณที่ชัดเจนที่สุด ก่อนที่จะเลือกส่งผ่านสัญญาณไปที่สถานีฐานที่มี สัญญาณชัดเจนที่สุด ต่างจากระบบอื่นที่เชื่อมต่อสัญญาณได้เพียงครั้งละหนึ่งสถานีฐาน (Hard Handoff) การมี Soft Handoff สามารถ ลดจำนวนครั้ง และ ความถี่ของปัญหาสายหลุด ลดสัญญาณรบกวน ผู้ใช้จะสามารถสื่อสารอย่างราบรื่น และต่อเนื่อง ความคมชัด และคุณภาพของเสียงในการติดต่อสื่อสาร (Rake Receiver) ความ คมชัด และ คุณภาพของเสียงในการติดต่อสื่อสารที่เหนือกว่าระบบอื่น ด้วยเทคโนโลยี 2G ที่รวมสัญญาณจากทุกทิศทาง (Multi-path Advantage) เพื่อให้ได้สัญญาณที่เข้ม และ หนาแน่น ตามปกติสัญญาณวิทยุจะมีการสะท้อนกับวัตถุรอบ ข้าง เช่น ภูเขา, ตึก, สิ่งก่อสร้าง, พื้นน้ำ ซึ่งสัญญาณตรง และสัญญาณสะท้อนมักจะรบกวนกัน แต่ระบบ CDMA มีชุดรับสัญญาณถึง 3ชุด (Rake Receiver) ในการรับสัญญาณแต่ละครั้ง โดยเครื่องจะเลือกประมวลสัญญาณที่ชัดเจน ที่สุด ซึ่งเทคนิคการประมวลสัญญาณเสียงของระบบ CDMA จะทำ ให้ได้เสียงที่มีคุณเสียงที่มีคุณภาพ เพื่อการสนทนาที่ชัดเจน และ ลดเสียงรบกวนให้น้อยที่สุด ลดความสิ้นเปลือง พลังงานจากแบตเตอรี่(Power Control) ด้วย เทคโนโลยีการประมวลสัญญาณเสียง และ การตรวจสอบสัญญาณ ระหว่างเครื่องลูกข่าย และ สถานีฐานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการควบคุมกำลังส่ง (Power control) เมื่อเครื่องลูกค่ายอยู่ ใกล ้สถานีฐาน หรือ สัญญาณมีความชัดเจนมาก กำลังส่งจะลดลง โดยการใช้กำลังส่งที่เหมาะสม กับการใช้งาน ทำให้การรบกวนของสัญญาณลดลง และ การส่งสัญญาณแบบยืดหยุ่น ผู้ใช้จึงสามารถสนทนาได้นานขึ้น โดยสิ้นเปลืองพลังงานของแบตเตอรี่น้อยลง ทั้งยังยืดอายุ การใช้งานของแบตเตอรี่ ความปลอดภัยของ สัญญาณออกอากาศ ผู้ ใช้มั่นใจได้ว่าทุกการสื่อสารและการรับส่งข้อมูลจะปลอดภัย และ เป็นส่วนตัว เนื่องจากการ ส่งสัญญาณของระบบ CDMA ที่ใช้รหัส (codes) หลายชุด เช่น PN Long Code, PN Short Code, Walsh code ซึ่ง PN Long Code มีหน่วยของรหัสมากถึง 4.4 ล้านล้านหลัก รหัสเหล่านี้นอกจากจะช่วยในการแบ่งแยกผู้ใช้งานในระบบ CDMA แล้ว ยังจะช่วยป้องกัน การลอกเลียนแบบ และ ลดความผิดพลาดในการสื่อสารของระบบ CDMA อีกด้วย ข้อเสียของ ระบบ CDMA เนื่องจากเทคโนโลยี CDMA ยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ ดังนั้น จึงมีค่า ใช้จ่ายสูง อุปกรณ์รับส่งข้อมูลมีราคาแพงกว่าอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายอื่นๆมาก บลูทูธ (Bluetooth) คือ ระบบการสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็กโทนิคแบบสองทาง ที่ใช้เทคนิคการส่งคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) เป็น สื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างอุปกรณ์ต่างชนิดกัน โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ้งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่เชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ โดยปัจจุบัน ระบบ บลูทูธได้เข้ามาช่วยทำให้การส่งถ่ายข้อมูลที่เป็นภาพ เสียง สะดวกยิ่งขึ้น ระบบการทำงานของ Bluetooth Bluetooth จะใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. แต่จะแยกย่อยออกไป ตามแต่ละประเทศ อย่างในแถบยุโรปและอเมริกา จะใช้ช่วง 2.400 ถึง 2.4835 GHz. แบ่งออกเป็น 79 ช่องสัญญาณ และจะใช้ช่องสัญญาณที่แบ่งนี้ เพื่อส่งข้อมูลสลับช่องไปมา 1,600 ครั้งต่อ 1 วินาที ส่วนที่ญี่ปุ่นจะใช้ความถี่ 2.402 ถึง 2.480 GHz. แบ่งออกเป็น 23 ช่อง ระยะทำการของ Bluetooth จะอยู่ที่ 5-10 เมตร โดยมีระบบป้องกันโดยใช้การป้อนรหัสก่อนการเชื่อมต่อ และ ป้องกันการดักสัญญาณระหว่างสื่อสาร โดยระบบจะสลับช่องสัญญาณไปมา จะมีความสามารถในการเลือกเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในการติดต่อเองอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามหมายเลขช่อง ทำให้การดักฟังหรือลักลอบขโมยข้อมูลทำได้ยากขึ้น ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0689ad70740a4028 http://iam.hunsa.com/ssicomputer/article/22868 http://www.host-basic.com/?p=95 http://school.obec.go.th/wattha/html_learn/2html-tag-mean.html http://www.com5dow.com/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C-it/288-gprs-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html http://my.dek-d.com/tharatornmunyaem/blog/?blog_id=10063690 http://com360.blogspot.com/2011/01/bluetooth-bluetooth.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น