วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รวมลิงค์เพื่อนในห้อง 55/11

http://superfei343.blogspot.com/ นางสาวศิริพร เสนทา http://jiraporn311.blogspot.com/ นางสาวจิราภรณ์ เอี่ยมสอาด http://thipsiri20.blogspot.com/ นางสาว ทิพย์ศิริ บัวจูม http://nattavadee316.blogspot.com/ นางสาวณัฐวดี โชคกล้า http://sawitree0346.blogspot.com/ นางสาวสาวิตรี ดอนเจดีย์ http://karuntarat.blogspot.com/ นางสาว กรัลธรัตน์ อ่อนจันทร์งาม http://nonglek0324.blogspot.com/ นางสาว น้องเล็ก - http://neranut327.blogspot.com/ นางสาว นีรนุช สุทธิประภา http://supaporn350.blogspot.com/ นางสาวสุภาภรณ์ เขียวชอุ่ม http://aruni355.blogspot.com/ นางสาว อรุณี ปรางเทศ http://kantanat302.blogspot.com/ นายกันตณัฐ บุญประเสริฐ http://kuauma304.blogspot.com/ นางสาว กุสุมา รามภาพ http://marisa0335.blogspot.com/ นางสาว มาริสา ด้วงสิงห์ http://titiporn15.blogspot.com/ นางสาวฐิติพร สารสุววรณ http://jaaranan312.blogspot.com/ นางสาวจีรนันท์ จันทบุตร http://meaw56.blogspot.com/ นางสาว วิภารัตน์ แสงวรราช http://mintgolf0345.blogspot.com/ นางสาว ศุภัชญา เหมือนเทียน http://jirapa5507.blogspot.com/ นางสาวจิรภา หอมคง http://kedruthai306.blogspot.com/ นางสาว เกษฤทัย ทองบ่อ http://thatiya19.blogspot.com/ นางสาวตติยา ชงกรานต์ทอง http://nootchanard028.blogspot.com/ นางสาวนุชนารถ จันทร์แก้ว http://napaporn321.blogspot.com/ นางสาว นภาพร ศรีวิเชียร http://aumaporen356.blogspot.com/ นางสาว อุมาภรณ์ ดอกชะเอม http://jariwan307.blogspot.com/ นางสาวจริวรรณ สุวรรณ http://patchree32.blogspot.com/ นางสาว พัชรี วิมลศรี http://jiranan309.blogspot.com/ นางสาวจิรนันท์ เฮงจู http://onanong0353.blogspot.com/ นางสาวอรอนงค์ รื่นเริงใจ http://minta2404.blogspot.com/ นางสาวมินตา พุฒิเอก http://thippayanipa357.blogspot.com/ น.ส.ทิพยนิภา คัมภิรานนท์ http://suparat344.blogspot.com/นางสาวศุภรัตน์ แคน้อย http://piyanet331.blogspot.com/ นางสาวปิยเนตร ทำดี http://dungdao317.blogspot.com/ นางสาวดวงดาว แก้วโต http://pennapa333.blogspot.com/ นางสาว เพ็ญนภา หอมจันทร์ http://nipaporn5326.blogspot.com/ นางสาว นิภาพร สนนารี http://sutida0348.blogspot.com/?m=1 นางสาว สุธิดา คงสมบัติ http://pimsupanee.blogspot.com/ นางสาวสุภาณี ปุ้ยทองดี http://sichon047.blogspot.com/ นายสิชล ชัยโชค http://worawan1020.blogspot.com/ นางสาววรวรรณ ปราบพาล http://yongpukpimol334.blogspot.com/ นางสาวภัคพิมล มั่นแก่น http://rawiwan2537.blogspot.com/ นางสาวรวิวรรณ เกตุเรืองโรจน์ http://suwanan351.blogspot.com/ นางสาวสุวนันท์ นุชพูล http://naruemon23.blogspot.com/ นางสาว นฤมล แข็งฤทธิ์ http://numthim325.blogspot.com/ นางสาวน้ำทิพย์ มารวงษ์ http://kingkaew303.blogspot.com/ นางสาว กิ่งแก้ว ห้าวเหิม http://supaporn350.blogspot.com/นางสาวดารกา บูชา ผู้จัดการรวบรวม นางสาวชลธิชา เหล็กเพชร์ รหัส 554110313

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

ความรู้การใช้งานของ Facebook, Twitter, Google+, Youtube, Line

Facebook เริ่มต้นด้วยฟีเจอร์การค้นหาที่เรียกว่า Graph Search ที่ตอบสนองต่อการตลาดออนไลน์แบบสุดๆ ฟีเจอร์นี้คุณสามารถหาโพสต์, อัพเดท, Page, กลุ่ม, แอพ, การเช็คอิน และรวมไปถึงคอมเมนท์ของเพื่อนใน Facebook ได้เป็นอย่างดี (แต่ต้องมีสถานะเป็น Public ด้วย) ถัดมาคือการปรับเปลี่ยน Facebook Profile ที่เรียกว่า Timeline โดยกำหนดให้โพสต์อยู่ด้านซ้ายและ Sidebar อยู่ด้านขวา ส่วนการอัพเดทโพสต์ต่างๆ ก็มีการเพิ่มความรู้สึกหลังโพสต์ได้ว่าตอนนี้เป็นอย่างไร หรือทำอะไรอยู่ ฝั่ง Facebook Pages ก็มีการเปิดใช้ฟีเจอร์ Reply ซึ่งทำการตอบกลับความเห็นของผู้ใช้นั้นๆ (เหมือนความเห็นย่อยนั่นเอง) ส่วน Facebook App บนมือถือก็ปรับเปลี่ยนกันถี่ยิบมากๆ เริ่มต้นที่ Facebook Home for Android ซึ่งเป็น Launcher ตัวหนึ่งของ Android ที่เปิดตัวแรงมาก แต่ก็แผ่วไปตามระเบียบเพราะผู้ใช้ไม่ปลื้มเท่าที่ควร ส่วน Facebook Messenger ก็มีการเพิ่ม Chat Heads เข้ามา ทำให้การแชทกับเพื่อนใน Facebook สะดวกและง่ายขึ้น ซึ่งล่าสุดก็ปรับดีไซน์ของแอพแชทนี้ให้เข้ากับ iOS 7 เรียบร้อย (ทำให้ Android ดันได้ผลพลอยได้ไปซะงั้น) และมีการเพิ่มฟีเจอร์ส่งสติ๊กเกอร์หากันได้ การคอมเมน์โพสต์ ก็มีอัพเดทอีกเช่นกัน สามารถอัพโหลดภาพเข้าไปที่คอมเมนท์ได้ตรงๆ ซึ่งก็จะแสดงรูปให้เห็นชัดๆ ฟีเจอร์นี้ถูกใจขาเม้นต์อย่างแรง ถัดมาอีกฟีเจอร์นึงคือ Hashtag ทำหน้าที่เหมือนใน Twitter ทุกประการ คือการค้นหาโพสต์ที่ติดแท็กนั้นๆ และดูเนื้อหาใน Facebook ได้สะดวกมากขึ้น เพิ่มฟีเจอร์การนำโพสต์ต่างๆ ไปฝังไปตามเว็บได้ จะได้ไม่ต้องแคปหน้าจอไปแปะ ตลอดทั้งปี ปรับเปลี่ยน Algorithm ในส่วน News Feed มาแล้วประมาณ 2-3 รอบ เช่น Story Bumping, หรืออันนี้ ปุ่ม Like ในตำนาน (รูปยกนิ้วโป้ง พื้นหลังสีเทา) บัดนี้ก็พัฒนารูปร่างตัวเองเป็นสีน้ำเงินแบบ Facebook และเอารูปยกนิ้วโป้งออกไปเรียบร้อย Twitter การอัพเดทในฝั่งของ Twitter อาจจะดูหยุมหยิมๆ แต่ก็เริ่มต้นปีด้วยเสียงฮืฮฮาได้เหมือนกัน เพราะปล่อยแอพแชร์วีดีโอ 6 วินาทีที่เรียกว่า Vine ออกมาให้ได้ลองเล่นกัน กระแสแรกๆ ดูเหมือนจะแผ่วลงไปทุกที ตอนนี้ผู้ใช้ก็มากมายก่ายกองเรียบร้อย แต่ก็แพ้ Policy ของ Facebook จนได้ ทำให้หาเพื่อนบน Facebook ไม่ได้ กลางปีเส้นเสือกก็ได้เข้ามาเป็นฟีเจอร์น้องใหม่ เส้นที่ช่วยบอกให้รู้ว่าคนนี้คุยอะไรกับคนนั้นอยู่ แรกๆ ผู้ใช้ก็เอือมระอากันมาก ไม่ได้อยากรู้เลย แต่ตอนนี้ประโยชน์ดันมากโขจริงๆ และสามารถส่งภาพผ่านทาง DM ได้ หลังจากที่ถอดไม่ให้ภาพจาก Instagram เอามาโชว์ที่ Timeline ก็เลยทำการโชว์พรีวิวภาพที่อัพภาพ pic.twitter.com มาโชว์แทน Twitter App บนมือถือก็อัพเดทอยู่หลายรอบเหมือนกัน ทั้งฟีเจอร์และหน้าตาบน Android และ iOS7 Google+ ปีนี้น่าจะเป็นปีที่ Google+ น่าจะเริ่มเดินหน้าเต็มที่แบบสุดๆ หลังจากงาน Google I/O 2013 ก็ทำให้เห็นว่า Google+ ไม่ใช่ Social Network ขี้เหร่อะไรมากและสามารถหาความเป็นตัวของตัวเองได้เสียที โดย 3 สิ่งที่เน้นจะเป็นเรื่อง Stream, Hangouts และ Photos นั่นเอง เรื่องของดีไซน์เว็บ เรียกว่าเปลี่ยนแล้ว เปลี่ยนอีก ต้นปีใช้ Cover ขนาดใหญ่เท่าฝาบ้าน กลางปีก็เปลี่ยนรูปแบบ Stream ให้เป็นบล็อกๆ (จนโดนแซวว่าคล้าย Pinterest) ปลายปีก็ลดขนาด Cover ให้มีขนาดที่พอดีๆ (ซักที) Google+ Photos อัดแน่นด้วยฟีเจอร์อลังการงานสร้างมากมาย โดยรวมเนื้อที่การใช้งานบริการทั้งหมดฟรี 15 GB และปล่อยฟีเจอร์อัพภาพขนาดใหญ่แค่ไหนก็ได้, อัพไฟล์ RAW และแสดงผลได้ และโหมด Auto ต่างๆ ทั้ง Auto Awesome ทั้งแบบภาพและวีดีโอ, Auto Enhance, Auto Backup และการจัดการระบบภาพที่เหนือชั้นสุดๆ เรียกว่าคนถ่ายภาพจะสนุกกับการใช้งานของ Google+ Photos แบบสุดๆ เลย Google+ Hangouts ก็เปลี่ยนกันจนสนุกสนาน ตอนแรกตัวแอพเองเป็นแค่การทำ Video Call 10 คน ไปๆ มาๆ Google เลยจับมาทำเป็นแอพแชทที่เอาไปแทน Google Talk ดีกว่า ซึ่งการทำงานครอบคลุมทั้งการแชท การรับส่ง SMS และ Hangouts ที่ยังคงการใช้งานเดิมๆ ไว้ แต่ก็เปลี่ยนหน้าตา(อีกแล้ว) แถมมีการเพิ่มฟีเจอร์เช่น แคปหน้าจอตอน Hangouts ได้, มี Emoji เป็นของตัวเอง Facebook มีกล่อง Facebook Comment และสามารถนำโพสต์ไปฝังในเว็บได้ Google+ ก็มี Google+ Comment และนำโพสต์ไปฝังในเว็บได้เหมือนกัน Google+ App บนมือถือ ถ้าสังเกตกันดีๆ ฝั่ง iOS จะได้ใช้งานฟีเจอร์แปลกๆ ก่อน Android แต่ฝั่ง Android จะได้ใช้ฟีเจอร์ที่ว่านั้นเต็มที่กว่า (งงเลยหละสิ) ส่วนเรื่องหน้าตาก็ปรับเปลี่ยนกันมากมายเช่นเคย เช่นครั้งแรก, ครั้งนี้ของ Android (ตามคำเรียกร้อง) มีการเพิ่ม Mascot การแจ้งเตือน เรียกว่า Mr.Jingle คุณกระดิ่งที่จะช่วยจัดการเรื่องการแจ้งเตือนให้ แถมเป็น Mascot ที่จะแอนเทรนด์ตามกระแสอีกด้วย YouTube การทำงานของเว็บไซต์แสดงผลวิดีโอผ่านทางในลักษณะ อะโดบี แฟลช ซึ่งเนื้อหามีหลากหลายรวมถึง รายการโทรทัศน์มิวสิกวิดีโอ วิดีโอจากทางบ้าน งานโฆษณาทางโทรทัศน์ และบางส่วนจากภาพยนตร์ และผู้ใช้สามารถนำวิดีโอไปใส่ไว้ในบล็อกหรือเว็บไซต์ส่วนตัวได้ ผ่านทางคำสั่งที่กำหนไลน์ซึ่งจะต้องเชื่อมต่อผ่าน GPRS/EDGE, วายฟาย หรือ 3จี ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายในการสนทนาหรือส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพ เสียง วีดีโอดให้ของยูทูบ ยูทูบถือว่าเป็นหนึ่งในเว็บ 2.0 ชั้นนำของอันดับต้น ๆ ของโลก ยูทูบมีนโนบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่มีภาพโป๊เปลือย และคลิปที่มีลิขสิทธิ์นอกเสียจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อัปโหลดเอง โดยผู้ใช้สามารถทำการแจ้งลบได้ Line ไลน์ซึ่งจะต้องเชื่อมต่อผ่าน GPRS/EDGE, วายฟาย หรือ 3จี ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายในการสนทนาหรือส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพ เสียง วีดีโอ แหล่งที่มา -http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%9A -http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%9A -http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C_%28%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%8C%29

ความรู้เกี่ยวกับ Web Application, Search Engine

เว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) คืออะไร ? ส่วนมากเรามักจะคุ้นเคยกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ติดตั้ง โปรแกรมพวก Microsoft Office ที่ประกอบด้วย Word ที่สำหรับพิมพ์เอกสาร Excel สำหรับสร้างตารางคำนวณ โปรแกรมพวกนี้เราจะเรียกมันว่า Desktop Application ซึ่งจะติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องใครเครื่องคนนั้น หรือโปรแกรมสำหรับงานบัญชี ที่บางหน่วยงานติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นลักษณะ Client-Server Application โดยเก็บฐานข้อมูลไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ (Server) และติดตั้งตัวโปรแกรมบัญชีที่เครื่องใช้งาน (Client) ซึ่งตอบสนองความต้องการเพิ่มขึ้นในด้าน Multi-User หรือใช้งานพร้อมๆกันได้หลายๆคน โดยใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน เก็บฐานข้อมูลไว้ที่ส่วนกลาง เทคโนโลยี Desktop Application ไม่สามารถตอบสนองความต้องการการบริหารจัดการได้ โดยเฉพาะการทำธุรกิจที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลา ข้อมูลมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เพื่อตอบสนองภาวะตลาดที่แปรเปลี่ยน ระบบ Client-Server Application ตัวโปรแกรมมีความซับซ้อน การแก้ไข การ Upgrade ทำได้ยุ่งยาก อย่างกรณี หากต้องการ Upgrade หรือเพิ่มคุณสมบัติเพิ่มเติมให้กับ Application ที่ตัวเซิร์ฟเวอร์ต้องหยุดระบบทั้งหมด และเมื่อ Upgrade ที่เซิร์ฟเวอร์แล้ว ก็จำเป็นต้อง Upgrade ที่ Client ด้วย หากระบบมีผู้ใช้งานจำนวนมาก จะยิ่งเพิ่มความยุ่งยากมากขึ้น นอกจากนี้ยังไม่รวมปัญหาว่า ที่เครื่อง Client มีความหลากหลายและแตกต่างกัน เช่น OS (Operating System) ที่ต่างกัน สเปคเครื่องที่แตกต่างกัน ซึ่งหากการ Upgrade แล้วมีความจำเป็นต้องใช้สเปคเครื่องที่สูงขึ้นที่ฝั่ง Client จำเป็นต้อง Upgrade ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ตามไปด้วย จากตัวอย่างปัญหาเหล่านี้ ถูกจัดการด้วยเทคโนโลยี Web Application (เว็บแอพพลิเคชั่น) เพราะ Web Application สามารถตอบสนองปัญหาข้างต้นได้เป็นอย่างดี และสามารถแทนที่ Desktop Application ที่เป็น Client-Server Application ได้เป็นอย่างดี ตัวโปรแกรมของ Web Application จะถูกติดตั้งไว้ที่ Server คอยให้บริการกับ Client และที่ Client ก็ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม สามารถใช้โปรแกรมประเภท Brower ที่ติดมากับ OS ใช้งานได้ทันที อย่าง Internet Explorer หรือโปรแกรมฟรี ได้แก่ FireFox, Google Chrome ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก ด้วยความสามารถของ Brower ที่หลากหลาย ทำให้ไม่จำกัดว่าเครื่องที่ใช้เป็น OS อะไร หรืออุปกรณ์อะไร อย่างอุปกรณ์ TouchPad หรือ SmartPhone ก็สามารถเรียกใช้งานได้ ลดข้อจำกัดเรื่องสถานที่ใช้งานอีกด้วย จุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือข้อมูลที่ส่งหากัน ระหว่าง Client กับ Server มีปริมาณน้อยมาก ทำให้เราสามารถย้ายเซิร์ฟเวอร์ไปอยู่บนเครือข่าย Internet ได้ และสามารถใช้งานผ่าน Internet Connection ที่มีความเร็วต่ำๆได้ จุดเด่นนี้ทำให้ สามารถใช้ Application เหล่านี้จากทุกๆแห่งในโลกได้ การค้นหาข้อมูล (Search Engine) หมายถึง การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้องเสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่ รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ Web search engine ที่นิยมใช้กันมากที่สุด 3 อันดับ คือ 1. Google 2. Yahoo 3. MSN/Windows Live ประเภทของการค้นหาข้อมูล Search Engine 1. Search Engine การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจง Search Engine ประเภทนี้ ช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด เพียงแค่ระบุคำที่ต้องการค้นหาข้อมูล เป็นรูปแบบที่นิยมมาก เว็บไซต์ที่นิยมใช้ในการค้นหาข้อมูลในแบบนี้ เช่น www.google.co.th 2. Subject Directories การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ มีเว็บไซต์ที่เป็นตัวกรองในการรวบรวมข้อมูล ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกข้อมูลตามที่ต้องการได้ การค้นหาข้อมูลวิธีนี้มีข้อดี คือ สามารถเลือกจากชื่อไดเรกทอรี่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหา และสามารถเลือกเข้าไปดูว่ามีเว็บไซต์บ้างได้ทันที เช่น www.sanook.com 3. Meta search Engines การค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล เป็นการค้นหาข้อมูลจากหลาย ๆ Search Engine ในเวลาเดียวกัน เพราะเว็บไซต์ที่เป็น Meta search จะไม่มีฐานข้อมูลของตนเอง แต่จะค้นหาเว็บเพจที่ต้องการ โดยวิธีการดึงจากฐานข้อมูลของ Search Site จากหลายแหล่งมาใช้แล้วจะแสดงผลให้เลือกตามความต้องการ เช่น www.thaifind.com การค้นหาโดยใช้ Search Engine แบ่งเป็น 2 วิธี 1. การระบุคำเพื่อใช้ในการค้นหา หรือเรียกว่า "คีย์เวิร์ด (Keyword) โดยในเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลจะมีช่องเพื่อให้กรอกคำที่ต้องการค้นหาลงไป แล้วจะนำคำดังกล่าวไปค้นหาจากข้อมูลที่ได้จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบ เว็บไซต์ที่ให้บริการ เช่น www.google.co.th การใช้คีย์เวิร์ดในการค้นหาข้อมูลต้องพยายามระบุคำให้ชัดเจน 2. การค้นหาจากหมวดหมู่ หรือไดเรกทอรี่ (Directories) การให้บริการค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้เปรียบเสมือนเราเปิดเข้าไปในห้องสมุด ที่จัดหมวดหมู่ของหนังสือไว้แล้ว ภายในหมวดใหญ่นั้น ๆ ประกอบด้วยหมวดหมู่ย่อย ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือแบ่งประเภทของข้อมูลให้ชัดเจน จะสามารถเข้าไปหยิบหนังสือเล่มที่ต้องการได้แล้วก็อ่านเนื้อหา มีเว็บมากมายที่ให้บริการค้นหาข้อมูลในรูปแบบนี้ เช่น www.siamguru.com www.sanook.com www.hunsa.com www.thaiwebhunter.com บทสรุปของการเลือกใช้ Search Engine การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เป็นการบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทีแหล่งข้อมูลอยู่มากมาย และมีความสะดวกในการค้นหามากกว่าการค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะต้องใช้เว็บไซต์ประเภท Search Engine เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลข่าวสารได้ ประเภทของการค้นหาข้อมูลแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การค้นหาข้อมูลด้วยคำที่เจาะจง การค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ และการค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล ผู้ใช้สามารถเลือกวิธีการค้นหาและใช้เทคนิคในการค้นหาข้อมูลช่วย เพื่อที่จะได้รับข้อมูลให้ตรงตามความต้องการและทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้เร็วขึ้นอีกด้วย ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นเว็บไซต์ประเภท Search Engine และเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลอยู่หลายเว็บไซต์ ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น และการใช้บริการรูปแบบนี้เสมือนเป็นการเปิดประตูห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลอยู่มากมาย ทำให้ข้อมูลที่ได้รับไม่เฉพาะเจาะจงอยู่เพียงในขอบเขตใดขอบเขตหนึ่งเท่านั้น แต่สามารถหาได้จากหลายแหล่งข้อมูลทั่วโลก ที่มา http://www.aicomputer.co.th/sArticle/002-what-is-Web-Application.aspx http://www.shc.ac.th/shc_media_online/media_m4/information/information2.htm

ความหมายคำศัพท์ WAP, WIFI, ISP, HTML, GPRS, CDMA, Bluetooth

WAP ( Wireless Application Protocol ) เป็น Protocol ที่เป็นมาตรฐานสากล ที่เกิดจากความร่วมมือกันของ หลายๆบริษัท ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ เพื่อนำเอาลูกเล่นหรือ ความสามารถ ต่างๆ ของ Wireless Application และ ของทางด้าน Internet ให้มาใช้ได้ บนเครื่องโทรศัพท์มือถือ WAP จะทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ใช้งานทางด้าน Internet ทั่วๆไปได้ เหมือนๆกับใช้งานผ่านทาง เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยที่ WAP นั้นไม่ต้องการ CPU ที่มีประสิทธิภาพ สูงๆ ไม่ต้องการหน่วยความจำมากๆ ไม่ต้องการแหล่งพลังงานมาก แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่หลายเรื่องด้วยเช่นกันที่อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกแปลกและ ติดขัดบ้าง เช่น ข้อจำกัดด้าน Bandwidth, มี Display ขนาดเล็ก และ มีส่วนของการป้อนข้อมูลเข้า ( Input ) ที่แตกต่างจากการใช้งาน บนคอมพิวเตอร์อยู่พอสมควร แต่จุดเด่นของ WAP นั้น ก็คือทำให้ ใช้งานได้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งสามารถพกพา หรือนำไปใช้งาน ณ ที่ไหนๆ ก็ได้ ซึ่งจุดนี้ ก็น่าจะหักล้างกับข้อจำกัดต่างๆลงได้ WAP นั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้กับอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ไม่จำกัดเพียงแค่โทรศัพท์มือถือเท่านั้น หากยังรวมไปถึง วิทยุติดตามตัว ( Pager ), วิทยุรับส่งที่เรียกว่า Two-Way Radio, Smartphone และรวมไปถึงอุปกรณ์สือสารต่างๆ ตั้งแต่ระดับ Low-End จนถึง High-End เลยทีเดียว ซึ่ง ระบบ Network ที่ใช้กับ WAP ได้นั้น ก็ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้ง CDPD, CDMA, GSM, PDC, PHS, TDMA, FLEX, ReFLEX, iDEN, TETRA, DECT, DataTAC และ Mobitex. WAP เป็น Protocol สำหรับการสื่อสาร ซึ่งสามารถใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ ( OS : Operating ) ต่างๆ ได้หลากหลาย ทั้ง PalmOS, EPOS, Windows CE, FLEXOS, OS/9, JavaOS และอื่นๆ อีก WAP นั้นจะช่วยสนับสนุน Bearer หลักๆ ในการส่ง Message เช่น Short Message Service ( SMS ) , Circuit Switched Data, Unstructured Supplementary Services Data ( USSD ) และ ในอนาคตอันใกล้ ก็จะสนับสนุน General Packet Radio Services ( GPRS ) อีกด้วย และ นอกจากนี้ ก็ยังมีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่างๆ มาใช้กับโทรศัพท์มือถือ มากขึ้น โดยอาศัย WAP และ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการส่ง Message เข้ามาช่วยในการทำงานอีกด้วย เช่น HSCSD, EDGE และ WCDMA Wi-Fi คือ องค์กรหนึ่งที่ทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless LAN หรือระบบ Network แบบไร้สาย โดยพัฒนา จากสถาบันวิศวกรไฟฟ้า และ อิเล็คโทรนิค หรือ Institute of Electrical and Electronics Engineering (IEEE) นั่นเอง เลยทำให้กลายเป็นศัพท์ใหม่ที่เห็นกันบ่อยๆว่า IEEE 802.11 ซึ่งก็ได้มีการพัฒนากันมาเรื่อยจาก 802.11 ธรรมดามาเป็น 802.11b 802.11a 802.11g ซึ่งมันจะต่างกัน เรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลเป็นหลัก ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารภายใต้มาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งอุปกรณ์ทุกตัวที่ต่างยี่ห้อกันนั้นจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ประสบปัญหา หากอุปกรณ์นั้นผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานก็จะมีการประทับตรา Wi-Fi Certified ซึ่งหมายความว่า อุปกรณ์ตัวนี้สามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายกับ อุปกรณ์อื่นที่มีตรา Wi-Fi Certified ได้ แล้วจึงกลายมาเป็นคำศัพท์ของอุปกรณ์ LAN ไร้สาย ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความคล่องตัวมาก ซึ่งอาจจะนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ ทะลุกำแพง เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย ที่สำคัญก็คือ การที่มันไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น Notebook ตัวนี้ หรือ PDA ตัวนี้มันมี Wi-Fi นั่นก็หมายความว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้น มันสามารถติดต่อสื่อสารกับเครื่องตัวอื่นในระบบ Network แบบไร้สายได้ โดยอยู่ภายใต้ มาตราฐานเทคโนโลยี 802.11สำหรับเลข 802.11 นั้นเป็น เทคโนโลยีมาตรฐานแบบเปิดซึ่งกำหนดโดย Institute of Electrical and Electronics Engineers : IEEE โดยเลขหลักตัวหน้าจะเหมือน ๆ กันแต่ความแตกต่างของเทคโนโลยีจะกำหนดด้วยตัวอักษรด้านหลัง เช่น 802.11b , 802.11a , 802.11g มาตรฐาน 802.11b ถือเป็นมาตรฐาน Wi-Fi ตัวแรก ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมา สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 11 เมกะบิตต่อวินาทีโดยใช้ช่วงความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ครอบคลุมพื้นที่ทำการในระยะ 150 เมตร นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานในลักษณะเดียวกันนี้อีกหลายตัว อาทิ 802.11a และ 802.11g แต่ในบ้านเราอาจไม่สามารถใช้งาน 802.11a ที่มีความเร็วสูงถึง 54 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะ 100 ฟุตได้ เนื่องจากส่งสัญญาณในย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลข ส่วน 802.11g ไม่มีปัญหาอะไร เพราะใช้ย่านความถี่เดียวกับ 802.11b แต่ต่างกันตรงที่เร็วกว่ากันถึง 5 เท่า ผู้ให้บริการเครือข่ายสาธารณะความเร็วสูง ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเครือข่ายสารธารณะความเร็วสูงจำนวนมาก เช่น CS Loxinfo, KSC,True เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับคนที่ต้องการ Online ตลอดเวลา CS Loxinfo ให้บริการ Shin Hot Spot โดยมีการใช้เทคโนโลยีบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมที่ทันสมัยของไอพี สตาร์ ช่วยทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตในสถานที่ต่างๆ มีความเร็วสูงได้ถึง 256 KB สำหรับพื้นที่ที่ให้บริการมีทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด KSC คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เนต จำกัด ผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอันดับหนึ่ง ของประเทศไทย ได้ประกาศจับมือ ไอพาส (iPass) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเครือข่าย Wi-Fi ชั้นนำของโลก เปิดบริการโรมมิ่งขาเข้า จับกลุ่มลูกค้านักธุรกิจและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เดินทางมาเมืองไทยให้ความสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ทันทีที่ผ่านบริการ KSC Hot Spot ในพื้นที่ให้บริการกว่า 70 แห่ง ทั่วประเทศ นอกจากนี้ KSC ยังเพิ่มจุดบริการ KSC Hot Spot อินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็ว สูงในร้านสตาร์บัคส์ทุกสาขาอีกด้วย True มีบริการ True Wi-Fi ที่มี Hot Spot อยู่ตามร้านอาหารและสถานที่ต่างๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายให้เลือกเป็นแบบจ่ายเป็นรายเดือน และระบบ Prepaid นอกจากนี้ True ได้ร่วมมือกับบริษัท เมโทรสตาร์ พร็อพเพอร์ตี้ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และคอนโดมิเนียม จัดตั้งโครงการ Cyber Home by True ที่มุ่งให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายระดับกลางถึงระดับสูงที่ต้องการมีอสังหาริมทรัพย์ที่มีเทคโนโลยีสมัยมาติดตั้งการสื่อสารครบวงจร ตอบสนองทั้งธุรกิจและการดำเนินชีวิตประจำวันของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมายของ Wi-Fi กลุ่มเป้าหมายหลักของ Wi-Fi นี้ได้แก่ผู้ที่ต้องติดต่อประสานงานบ่อย ๆ ทั้งอาจจะต้องเดินทางออกนอกสถานที่ ฯลฯ ซึ่งทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานนอกสถานที่ และได้มีการคาดหมายว่า ภายในปี 2007 จะมีประชาการโลกกว่า 20 ล้านคนที่หันมาใช้อินเตอร์เน็ตไร้สาย ซึ่งปัจจุบันมีจุดบริการเพิ่มขึ้นมากมาย นอกจากนี้สายการบินหลายสายเช่น Lufthansa, SAS, United, Delta ได้เริ่มติดตั้งจุดให้บริการ Wi-Fi บนเครื่องบิน ซึ่งแหล่งข่าวจาก CNN รายงานว่า บางสายการบินมีการคิดค่าบริการด้วย ในขณะที่อีกหลายสายไม่มีการคิดค่าบริการในส่วนนี้ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถเพิ่มยอดการใช้บริการได้ สำหรับการให้บริการอีเมลบนเครื่องบินนั้นจะใช้เซิร์ฟเวอร์ทำการเชื่อมโยงกับเครือข่ายระบบดาวเทียม และใช้ Routing System ในการปรับค่าสัญญาณที่ได้ก่อนจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครื่องแลปทอปของผู้โดยสารผ่านทางการ์ดเน็ตเวิร์กแบบไร้สาย ผลก็คือมีผู้สนใจใช้บริการจุด Hot Spot เป็นอย่างมาก และสามารถเพิ่มยอดรายได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน ISP (Internet Service Provider) ความหมายว่า ”ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต” ISP เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ 1. หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น 2. บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย HTML (Hypertext Markup Langauge) เป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้สำหรับสร้างWeb Page ซึ่งจะถูกแปลความหมายและแสดงผลด้วย Web Browser และจะแสดงได้ทั้งข้อมูล ที่เป็น ข้อความ เป็นเสียง เป็นภาพ และภาพเคลื่อนไหว เช่น VDO หรือภาพยนต์ ที่เรามองเห็นใน Internet . ( ภิญญู กำเนิดหล่ม, 2546: 7) อ่านและ แปลตามคำ ได้ดังนี้ Hyper (ไฮเปอร์ ) มากมิติ Text (เทคซฺทฺ) ข้อความ Markup (มาร์ค'อัพ) ปริมาณ Language ( แลง'เกว็จฺ) ภาษา ( แปลจากโปรแกรมแปล Dicthope ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ) HTML เป็นภาษาที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ โดยใช้แท็กในการกำหนดโครงสร้างและลักษณะของข้อความหรือรูปภาพ โครงสร้างของภาษา HTML ประกอบด้วยส่วนหัว และส่วนเนื้อหาซึ่งผู้ใช้สามารถใช้คำสั่งต่าง ๆ กันไป การตกแต่งเว็บเพจอาจทำได้โดยการใส่สีพื้น สีตัวอักษร และกำหนดขนาดตัวอักษรการสร้างตาราง การสร้างแหล่งเชื่อมโยง การใช้ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวประกอบในเว็บเพจซึ่งจะทำให้เว็บเพจดูสวยงาม GPRS ย่อมาจาก General Packet Radio Service นี้ไม่ใช่สิ่งใหม่แต่ประการใดในแวดวงโทรคมนาคม ซึ่งจะจัดให้มันอยู่ในเจนเนอเรชั่นที่ 2.5 G สำหรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ (โดย 1 G หมายถือโทรศัพท์มือถือระบบอนาล็อก, 2 G หมายถึง โทรศัพท์มือถือดิจิตอลปัจจุบันที่เราใช้อยู่) GPRS นั้นถือว่าเป็นบริการใหม่ที่ล้ำสมัยของโทรศัพท์มือถือที่ไม่จำกัดตัวเองอยู่แค่การใช้เสียงเท่านั้น โดยมันมีความสามารถในการส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ได้ด้วยความเร็วในระดับ 172 Kbps (ขณะที่โทรศัพท์มือถือดิจิตอลธรรมดาส่งได้ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps) ซึ่งความเร็วที่สูงระดับนี้สามารถรองรับกับ การใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา และอีกไม่นานเราคงจะได้เห็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบย่อ ในมือคุณไม่ว่าจะเป็นการ Chat, Web, Browsing, FTP หรือ E-mail GPRS ได้ถูกกำหนดเป็นมาตรฐาน และมีกำหนดการที่จะออกใช้งานทั่วโลก โดยเริ่มมีการวางระบบเพื่อรองรับการใช้งานงานตั้งแต่ปี 2000 โดยปี 2001 นั้นจะเริ่มทดสอบให้บริการที่ความเร็ว 56 Kbps และ 112 Kbps ก่อน โดยทั้งหมดจะทำงานอยู่บนเครือข่ายโทรศัพท์ GSM เดิม (แต่ตัวเครื่องโทรศัพท์ GSM เดิม จะไม่สามารถใช้งานกับ GPRS ได้) จากนั้นในปี 2002 จะเข้าสู่ยุคของ 3G เสียที GPRS คืออะไร? - เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นบนเครือข่ายเดิม เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น - เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบรวดเร็ว ซึ่งใช้ได้กับเครือข่ายระบบ GSM ช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับการติดตั้ง และทำให้ระยะเวลาในการส่งข้อมูลรวดเร็วยิ่งขึ้น - เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาเพื่อการใช้ Mobile Internet ด้วยความสะดวกยิ่งขึ้น ทำให้ท่านสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก และง่ายดายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ - นวัตกรรมใหม่ที่ทำให้การส่งข้อมูลมีประสิทธิภาพ ด้วยความเร็วจากเดิมเพียงแค่ 9.6 Kbps เป็น 40 Kbps ช่วยให้ท่านสามารถเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตได้ภายในเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ - การส่งข้อมูลแบบใหม่ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งจะประกอบไปด้วยรูปภาพที่เป็นกราฟฟิก เสียงและวิดีโอ เช่นการใช้ Video Conference ทำไมต้อง GPRS? - เพราะ GPRS ช่วยให้ส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แม้ในช่วงเวลาที่มีการใช้อินเตอร์เน็ตมาก - เพราะ GPRS ทำให้ท่านเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าคุณอยู่ที่ใด และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย - เพราะ GPRS ช่วยให้ท่านไม่ขาดการติดต่อ ท่านสามารถรับส่งเมล์ได้อย่างรวดเร็ว หรือแม้กระทั่งเล่น ICQ การพัฒนาเทคโนโลยี หลัง จากที่วงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้มีการพัฒนาด้านการสื่อสารข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือ และ None Voice Application อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถสื่อสารได้ทุกรูปแบบอย่างไร้ขีดจำกัดในระหว่างเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารด้วยเสียงหรือข้อมูล ดั้งนั้น ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จึงได้พัฒนา และนำเทคโนโลยีอย่างที่เห็นกันทุกวันนี้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เช่น 1. Short Message Service (SMS) - การใช้เทคโนโลยี SMS หรือการส่งข้อความที่กำลังได้รับความนิยมกันทั่วไปมากขึ้นทุกวันในบ้านเราขณะนี้ - Sim Tool Kit โดยใช้ Sim Card ที่ทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้พัฒนา และเพิ่มเติมบริการไว้ให้ใช้งานและบริการต่าง ๆ ง่ายมากยิ่งขึ้น 2. Circuit Switched Data (CSD) - WAP หรือ Wireless Application Protocol ที่สามารถ Connect กับโลกของข่าวสารข้อมูลกับ Wap Site ต่าง ๆ ได้ทั่วโลกแม้กระทั้งในรูปแบบของ Wireless Internet แต่อย่างไรก็ตามทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ยังเล็งเห็นว่า การโอนถ่ายสื่อสารข้อมูลของโทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่ ยังมีข้อจำกัดในด้านความเร็วการรับส่ง และรวมไปถึงปริมาณข้อมูลที่สามารถทำ การรับจึงได้เริ่มพัฒนาแก้ไขเพื่อที่จะเพิ่มเติมบริการตรงส่วนบกพร่องนี้ให้ดีขึ้น จึงได้เริ่มนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS (General Packet Radio Service) GPRS (General Packet Radio Service)ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลต่างๆในรูปแบบแพ็กเก็ตต่าง ๆ การเชื่อมต่อแบบใหม่ที่ใช้ระบบGPRSเข้ามาก็จะเป็นการเชื่อมต่อ และวิธีการส่งข้อมูลที่มีลักษณะเช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ตก็คือ เมื่อต้องการข้อมูลหรือส่งข้อมูลอะไรก็แล้วแต่ ก็จะเป็นการส่งข้อมูลลักษณะนั้น เข้าไปในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องจองเวลาไว้ตลอดเวลา จึงทำให้วิธีการใช้งานของ GPRS ในแบบใหม่นี้จะเห็นได้ว่าจะมีการพูดถึง การเก็บเงินที่เป็นจำนวนข้อมูลที่รับ และส่งออกมา มากกว่าวิธีการติดต่อสื่อสารจากวิธีเดิมที่คิดจำนวนเวลาในการติดต่อสื่อสารแต่ละครั้ง การติดต่อด้วยระบบ GPRS ยังสามารถติดต่อสื่อสารด้วยเสียง ในขณะที่เราสามารถติดต่อสื่อสารผ่านโลกอินเตอร์เน็ตในขณะเดียวกัน ซึ่งก็คือ เราสามารถติดต่อสื่อสารทั้ง 2 ระบบ ภายในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ในแต่ละรุ่นที่ผลิตออกมา แต่เท่าที่ทราบในขณะนี้โทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละรุ่นยังไม่สามารถติดต่อสื่อสารพร้อม ๆ กันได GPRS เชื่อมโลกอินเตอร์เน็ต บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ GPRS ไม่ได้เป็นลักษณะที่จะสามารถให้บริการได้ด้วยตัวของระบบเอง แต่ตัวมันเองเป็นเพียงแค่ Bearer ให้กับ Application ต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ความเร็วที่เพิ่มมากกว่าปกติในระบบ GSM ที่เคยรองรับอยู่เดิมมาก่อน และระบบ GPRS จะต้องต่อไปยัง Packet Data Network ที่เป็น IP Network อีกต่อหนึ่ง ดังนั้นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่จะเปิดใช้ในระบบ GPRS ได้นั้นจะต้องทำการติดตั้งระบบเครือข่าย ที่ประกอบด้วยหน่วย หลัก ๆ 2 หน่วยด้วยกัน คือ 1. SGSN (Serving GPRS Supports Node) 2. GGSN (Gateway GPRS Supports Node) โดยทั้งสองหน่วยหลักขององค์ประกอบนี้ จะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยมีอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นตัวช่วยเพื่อไปร่วมใช้ Radio Interface จาก Base Station โดยผ่านตัวควบคุม ที่เรียกว่า PCU (Packet Control Unit) ที่ติดตั้งไว้ที่ BSC(Base Station Controller) อันทั้งนี้อาจมองNetwork เป็นอีก Network หนึ่ง ซึ่งเข้ากับ Mobile Phoneผ่านทาง Radio Interface ของระบบ GSM Network เดิมโดยเป็นบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการรับส่งข้อมูลเป็น Packetโดยตรง คุณสมบัติเด่นหลัก ๆ ของระบบ GPRS คือ 1. การโอนถ่ายข้อมูลที่มีความสามารถในการ รับ- ส่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้สูงถึง 9 - 40 kbps ซึ่งจะทำให้สามารถรับ- ส่งข้อมูลที่เป็น VDO Mail หรือ ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆได้ พร้อมทั้งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้เร็ว และมีประสิทธภาพมากกว่าเดิมรวมถึงการ Down lode/Up lode ได้ง่ายยิ่งขึ้น 2. Always On การเชื่อมต่อเครือข่ายและโอนถ่ายข้อมูลสามารถดำเนินต่อไป แม้ในขณะที่มีสายติดต่อเข้ามาก็ตาม จึงทำให้การโอนถ่ายข้อมูลไม่ขาดตอนลง 3. Wireless Internet ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Terminal เช่น PDA หรือ Note Book สามารถที่จะโอนถ่ายข้อมูลได้เร็วขึ้นจากที่เคยเป็นอยู่ ประโยชน์ของ GPRS - ประหยัดค่าใช้จ่าย เทคโนโลยี GPRS จะทำให้การคิดอัตราค่าบริการในการใช้อินเตอร์เน็ต ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในการรับ และส่งข้อมูล ไม่ใช่ช่วงเวลาในการเชื่อมต่อ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ จ่ายเพียงแค่อัตราค่าบริการในการดาวน์โหลด และอัพโหลดเท่านั้น - รวดเร็วยิ่งขึ้น GPRS จะช่วยให้ท่านเชื่อมต่อ และรับข้อมูลจ่าง ๆ ผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยระยะเวลาที่รวดเร็วกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ GSM ทั่วไป ทำให้การเข้าสู่ web หรือการรับส่งe-mail เป็นไปอย่างสะดวก และง่ายดาย - คุ้มค่า เพราะมีค่าใช้จ่ายน้อย แต่รับผลตอบแทนจากการรับ-ส่งข้อมูลอย่างมากมาย - น่าใช้ GPRS ทำให้ท่านได้รับข้อมูลในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบข้อความ หรือรูปแบบมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบไปด้วยรูปภาพ เสียง และวีดิโอ ทำให้การติดต่อสื่อสารของคุณผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่ซ้ำซากอีกต่อไป GPRS ดีกว่าระบบ GSM เดิมอย่างไร? - ความเร็วที่เพิ่มขึ้น จาก 9.6 Kbps เป็น40 Kbps - สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา (Always On) โดยไม่เสียค่าบริการ และยังสามารถโทรออก และรับสายโทรเข้าได้ ในขณะที่คุณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ - เสียค่าบริการจากจำนวนข้อมูลที่เราทำการรับ หรือส่ง (Download หรือ Upload) เท่านั้น - สามารถรับข้อมูลในรูปแบบของ Multimedia ได้ เช่นการชม Video Clip ผ่านทางอุปกรณ์ PDA ได้ บริการในระบบ GPRS ด้วยโทรศัพท์มือถือในระบบ GPRS คุณสามารถเข้าสู่บริการ non voice ที่หลากหลายจาก mobileLIFE โดยบริการใหม่ล่าสุดคือบริการ mClose2me, mDiscount, และ Advanced Mail จาก mMail นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้บริการอื่นๆที่มีอยู่เดิม เช่น mInfo, mEntertain, mBanking, mMail, mChat, mShopping และ mMessaging ด้วยความเร็วที่สูงขึ้นได้อีกด้วย มากไปกว่านั้นคือถ้าคุณใช้โทรศัพท์มือถือระบบ GPRS ต่อเชื่อมเข้ากับ PDA หรือ Computer Notebook ของคุณ คุณจะสามารถ Browse สู่โลกอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายดายทุกที่ ทุกเวลา และคุณยังสามารถรับข้อมูล ข่าวสารในรูปแบบของ Video ไม่ว่าจะเป็นรายการกีฬา, ละคร, ข่าว, และ ข้อมูลสภาพการจราจร ที่จะทำให้ชีวิตของคุณ ต่อติดกับโลกที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็วอยู่เสมอ รูปแบบการให้บริการของ GPRS - Textual And Visual Information บริการนี้เป็นจุดแตกต่างอย่างแรกที่ GPRS เหนือกว่า GSM ทั่วไป โดยสามารถส่งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพกราฟิกไปยังโทรศัพท์มือถือได้อย่างสะดวกรวดเร็วซึ่งจะทำให้ GPRS แทรกซึมเข้าสู่การใช้งานของคนทั่วไป ได้ทั้งข่าวความเคลื่อนไหว, ข้อมูลที่คนส่วนใหญ่สนใจ รวมทั้งบริการต่างๆ ที่จะเสริมเข้ามาในอนาคต - Still Images เป็นการส่งภาพนิ่งความละเอียดสูงไปมาระหว่างเครื่องด้วยกันได้ ทำให้สามารถส่งผ่านความรู้สึกดีๆ ผ่านภาพถ่าย หรือการ์ดอวยพรได้เลย รวมทั้งภาพที่ถ่ายได้จากกล้องดิจิตอล ก็สามารถโอนแล้วส่งต่อไปได้ทันที - Moving Images นอกเหนือจากภาพนิ่งแล้ว ภาพเคลื่อนไหวก็สามารถส่งต่อกันไปได้เช่นกัน เช่น การประชุมทางไกล หรือ การส่งภาพจากกล้องวงจรปิดไปยังโทรศัพท์มือถือ ในกรณีประยุกต์ใช้กับระบบรักษาความปลอดภัย - Chat เป็นคุณสมบัติที่คงจะถูกใจของผู้รักการคุยแบบไม่ใช้เสียง ซึ่งสามารถสนทนากันได้ทั้งแบบเป็นคู่ หรือเป็นกลุ่มได้อย่างสบายใจ ซึ่งจุดเด่นที่สำหรับ สามารถ Chat ได้ทุกที่ที่อยากจะ Chat - Web Browsing เป็นการเข้าสู่ World Wide Web ด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งความเร็วมีให้เลือกตั้งแต่ 56 Kbps ไปจนถึง 112 Kbps การท่องเว็บจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แม้รูปแบบการแสดงผลจะแตกต่างจากการท่องเว็บ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง - E-Mail เป็นบริการพื้นฐานที่มีคนนิยมใช้งานมากที่สุดสำหรับการส่งข้อความ โดยจะมีการใช้ในรูปของ SMS (Short Message Service) ที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว - File Transfer เป็นบริการโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลซึ่งน่าจะใช้งานกันอย่างแพร่หลายขึ้น GPRS เพราะความเร็วดูจะเหนือกว่าการใช้งานผ่านโมเด็ม กับโทรศัพท์พื้นฐานที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาก โดยจะรองรับกับโปรโตคอล FTP และแอพพลิเคชั่นที่อ่านข้อความอย่าง Acrobat Reader - Audio แน่นอนว่าโทรศัพท์ต้องมีเสียง แต่บริการด้านเสียงของ GPRS จะเหนือกว่าโทรศัพท์มือถือเดิม ๆ ที่เรารู้จัก เนื่องจากความคมชัดของสัญญาณเสียงที่เหนือกว่า และยังประยุกต์ใช้ในการเก็บไฟล์เสียงเพื่อนำไปใช้งานในด้านต่างๆ ด้วย เช่น การวิเคราะห็รายละเอียดของเสียงในงานของตำรวจ เป็นต้น - Remote LAN Access เราสามารถเข้าถึงเครือข่ายความพิวเตอร์ โดยใช้โทรศัพท์มือถือ แทนเบอร์โทรศัพท์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านได้อย่างง่ายดาย ซึ่งความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลจะเหนือกว่าโทรศัพท์พิ้นฐานทั่วไป - Vehicle Positioning เป็นความสามารถในการบอกตำแหน่งของยานพาหนะที่เราใช้อยู่ โดยจะสามารถเชื่อมต่อกับดาวเทียม ซึ่งจะสามารถบอกตำแหน่งที่เราอยู่โดยอ้างอิงกับ เครื่องโทรศัพท์มือถือได้อย่างแม่นยำ CDMA (Code Division Multiple Access) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กับโทรศัทพ์เคลื่อนที่แบบหนึ่งซึ่ง ข้อมูลที่ส่งออกมาจากสถานีฐานจะประกอบด้วยข้อมูลของผู้ใช้หลายคน ในระบบ CDMA นี้ผู้ใช้แต่ละคนจะได้รับ code ชุดหนึ่งที่ไม่เหมือนกับ code ของผู้ใช้คนอื่น เมื่อใช้ code ดังกล่าวถอดรหัสสัญญาณจากสถานีฐาน ทำให้ผู้ใช้แต่ละคนได้รับข้อมูลในส่วนของตัวเองได้ CDMA เป็นเทคโนโลยีที่แก้ไขข้อจำกัดของการสื่อสารแบบไร้สายในปัจจุบันด้วยวิธี ง่ายๆและมีประสิทธิภาพ โดยระบบCDMAจะแปลงเสียงเป็น รหัสเฉพาะในรูปของแพ็กเกจจากนั้นสัญญาณรหัสของการพูดทั้งหมดจะถูกจัดสรรให้ กระจายไปยังช่วงกว้างๆ ของย่านความถี่สัญญาณรบกวนอื่นๆ นอกเหนือจากคำสนทนาจะถูกดึงออกที่ปลายทาง โดยรหัสที่ระบุไว้แล้ว เมื่อกลุ่มสัญญาณนี้เดินทางมาถึงเครื่องรับสัญญาณเสียงหรือข้อมูลที่ได้รับ มานี้จะถูกนำมารวบรวมในรูปของคำสนทนาก่อนที่สัญญาณจะถูกส่งด้วยเทคนิคนี้จึง สามารถทำให้ระบบนี้สามารถรองรับจำนวนการโทรเข้าออกได้หลายๆ การสนทนาในเวลาเดียวกันภายในการส่งสัญญาณ ผ่านย่านคลื่นวิทยุเพียงหนึ่งคลื่น ผลก็คือระบบ CDMA จะสามารถรองรับปริมาณคู่สายได้จากการใช้ระบบCDMA CDMA (Code Division Multiple Access) หรือ นิยมเรียกกันว่า IS-95 ซึ่งชื่อ อย่างเป็นทางการคือ TIA/EIA-95B บริษัท Qualcomm จาก Sandi ago, California USA เป็น ผู้พัฒนาระบบ CDMA โดยใช้ Spread Spectrum Technique Spread Spectrumไม่ได้ให้ช่องสัญญาณ หรือ แบ่งเป็น Timeslot เช่นระบบ TDMA แต่ CDMA ใช้วิธีให้ทุกคนใช้ความถี่เดียว กันพร้อมๆ กัน เช่นเดียวกับ สถานีวิทยุที่ออกอากาศ ในความถี่ เดียวกัน ในเวลาและสถานที่เดียวกัน CDMA เป็นเทคโนโลยีเซลลูล่าร์ดิจิตอลที่ใช้เทคนิคสเปรดสเป็กตรัม ไม่เหมือนกับระบบอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่งซึ่งใช้ TDMA เช่น GSM แต่ CDMA ไม่กำหนดความ ถี่เฉพาะสำหรับผู้ใช้แต่ละคน แต่ทุกช่องสัญญาณจะใช้สป็กตรัมที่มีทั้งหมดจนเต็ม Code Division Multiple Access หรือ CDMA เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายด้วยระบบดิจิตอล ซึ่งได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท ควอลคอมม์ ซึ่งระบบซีดีเอ็มเอ จะทำหน้าที่แปลงคำพูดเป็นข้อมูลแบบดิจิตอล และส่งผ่านข้อมูลในรูปของสัญญาณวิทยุไปบนเครือข่ายไร้ สาย เนื่องจากระบบซีดีเอ็มเอ มีการใช้รหัสที่มีลักษณะเฉพาะในการระบุการโทรแต่ละครั้ง จึงสามารถรองรับผู้ใช้โทรศัพท์จำนวนมากในเวลาเดียวกัน โดยไม่เกิดปัญหาสัญญาณหลุด สัญญาณรบกวน หรือคลื่นแทรก ระบบซีดีเอ็มเอเริ่มเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ ในปี ค.ศ.1995 และกลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีโทรศัพท์ เคลื่อนที่ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดของโลกปัจจุบันผู้ให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ชั้นนำต่างๆ หลายรายได้นำระบบซีดีเอ็มเอไปใช้ในการให้บริการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูล ความเร็วสูงให้แก่ผู้ใช้โทรศัพท์มากกว่า 212.5 ล้าน รายทั่วโลก เทคโนโลยีซีดีเอ็มเอ ในช่วงที่เทคโนโลยีระบบการสื่อสารเคลื่อนที่ในยุคที่ 2 ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้นกว่าเทคโนโลยีในยุคแรก นักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มมองหาเทคโนโลยีในยุคแห่งอนาคต เพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ในขณะนั้นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายจะสามารถรองรับการสื่อสารด้วยเสียงเท่า นั้น อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีการ สื่อสารในรูปของข้อมูลด้วยการส่งข้อมูลไปในอากาศผ่านระบบเครือข่ายก็มีแนว โน้มในการพัฒนาเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับตลาดผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและผู้ให้บริการ ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตซึ่งมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ในปี ค.ศ.1999 สมาพันธ์โทร คมนาคมระหว่างประเทศ (The International Telecommunication Union) ได้กำหนดมาตรฐานระบบการสื่อสารไร้สายในยุคที่ 3 ให้สามารถรับส่งข้อมูลความเร็วสูงพร้อมทั้งกำหนดคุณสมบัติใหม่ใน ด้านอื่นๆ โดยปรากฎว่า มีเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอถึง 3 ระบบ ที่ได้รับการรับรองให้เป็นมาตรฐานการสื่อสารระดับ 3G และในปัจจุบันมีผู้ผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมชั้นนำมากกว่า 902 รายทั่วโลกได้ขอซื้อลิขสิทธิ์ซีดีเอ็มเอไปใช้ในการผลิต อุปกรณ์ที่เป็นมาตรฐาน 3G (Note 1. ที่มา :CDG.org 2. ที่มา :qualcomm.com ) CDMA2000 1x รอง รับเสียงและข้อมูล เทคโนโลยี CDMA2000 1X สามารถ รองรับการส่งสัญญาณทั้งในรูปของเสียงและข้อมูลผ่านช่องสัญญาณระบบซีดีเอ็มเอ มาตรฐานขนาด 1.25MHz ซึ่งให้ประสิทธิภาพเหนือกว่า เทคโนโลยีอื่นๆ หลายประการ ข้อที่ 1 ระบบซีดีเอ็มเอที่พัฒนาขึ้นใหม่มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบซีดี เอ็มเอในยุคแรกถึง 2 เท่า (รวมทั้งมีประสิทธิภาพเหนือชั้นกว่าระบบทีดีเอ็มเอ และจีเอสเอ็ม) ทั้งยังสามารถรองรับการให้บริการด้านเสียงที่มีปริมาณการใช้งานเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งให้บริการอินเตอร์เน็ตไร้สายในรูปแบบใหม่ๆ ข้อ ที่ 2 ระบบ CDMA2000 1X สามารถรับส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วโดยเฉลี่ยที่ 50-90 kbps (ซึ่งเร็วกว่าความเร็วโดยเฉลี่ยในการต่อสัญญาณ โทรศัพท์) โดยมีอัตราการส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 153 kbps โทรศัพท์ระบบ CDMA2000 1X ยังสามารถเปิด เครื่องรอรับสายได้นานกว่า เนื่องจากระบบ CDMA2000 1X ได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยีซีดีเอ็มเอในยุคแรก จึงทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถอัพเกรดระบบของตนได้อย่างง่าย ดายและในราคาประหยัดสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถใช้เครื่องเดิมของตน ติดต่อผ่านโครงข่ายที่ได้รับการอัพเกรดใหม่โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องแต่ อย่างใด CDMA2000 1xEV-DO ส่งข้อมูลความเร็วสูงอย่างมีประสิทธิภาพ การบริการส่งข้อมูลความเร็วสูงหรือต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งข้อมูล ระบบ CDMA2000 1xEV-DO จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถส่ง ข้อมูลได้มากกว่า 2 Mbps โดยมีค่าเฉลี่ยความเร็ว มากกว่า 700 kbps เทียบเท่ากับการส่งสัญญาณด้วยสาย แบบ DSL และมีความเร็วเพียงพอที่จะรองรับการใช้งาน ที่ต้องการประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลความเร็วสูง อาทิ ภาพวิดีโอ และการดาวน์โหลดข้อมูลขนาดใหญ่ ทั้งนี้ การส่งข้อมูลด้วยระบบ CDMA2000 1xEV-DO นับเป็นเทคโนโลยีการส่งข้อมูลที่มีต้นทุนต่ำที่สุด เมื่อคิดเป็นต้นทุนต่อเมกะไบต์ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การใช้อินเตอร์เน็ตไร้สายเป็นที่ แพร่หลายอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ 1xEV-DO ยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลแบบแพคเก็ท "always-on" ซึ่งช่วยให้การใช้ระบบไร้สายมีความสะดวกรวดเร็วและเกิดประโยชน์ มากกว่าที่เคยเป็นมา เมื่อผนวกเทคโนโลยีระบบ 1X และ 1xEV-DO เข้าด้วยกัน (ในกรณีที่จำเป็น) CDMA2000 จึงเป็นโซลูชั่นสมบูรณ์แบบที่มีความยืดหยุ่นและสามารถขยาย ขีดความสามารถให้มีสมรรถนะสูงสุด อีกทั้งมีค่าเฉลี่ยความเร็วในการส่งสัญญาณทั้งข้อมูลและเสียงที่มีความเร็ว สูงและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ข้อดี - ข้อเสีย ของระบบ CDMA ข้อ ดีของระบบ CDMA ความ สามารถในการรองรับปริมาณผู้ใช้งาน ที่มากกว่า (Capacity) CDMA เป็นเทคโนโลยีที่แก้ไขข้อจำกัดของการสื่อสารไร้สาย ในเรื่องความจุของช่องสัญญาณ เนื่องจากระบบ CDMA จะ ลดข้อมูลในการส่ง สัญญาณลงเมื่อไม่มีการพูด ดังที่กล่าวถึงในเรื่อง Voice activityเมื่อไม่มีข้อมูลที่จะส่งหรือมีน้อย กำลังส่งจะลดลง สัญญาณรบกวนในระบบมีน้อย และ ความยืดหยุ่น ของรูปแบบการส่งข้อมูล (Radio Configuration) ทำให้ CDMA รองรับผู้ใช้บริการได้มากกว่า และ บริหารทรัพยากรได้เหมาะสมกว่าระบบอื่นๆ การส่งผ่านสัญญาณ ที่ราบรื่น ลดปัญหาสายหลุด (Soft hand-off) การ ส่งผ่านสัญญาณ (Handoff) ของเครือข่าย CDMA ในบริเวณที่มีการ เชื่อมต่อระหว่าง สถานีฐาน เครื่องลูกข่ายจะทำการส่งสัญญาณเชื่อมต่อกับหลายสถานีฐานพร้อมกัน (Soft handoff) เพื่อให้ได้สัญญาณที่ชัดเจนที่สุด ก่อนที่จะเลือกส่งผ่านสัญญาณไปที่สถานีฐานที่มี สัญญาณชัดเจนที่สุด ต่างจากระบบอื่นที่เชื่อมต่อสัญญาณได้เพียงครั้งละหนึ่งสถานีฐาน (Hard Handoff) การมี Soft Handoff สามารถ ลดจำนวนครั้ง และ ความถี่ของปัญหาสายหลุด ลดสัญญาณรบกวน ผู้ใช้จะสามารถสื่อสารอย่างราบรื่น และต่อเนื่อง ความคมชัด และคุณภาพของเสียงในการติดต่อสื่อสาร (Rake Receiver) ความ คมชัด และ คุณภาพของเสียงในการติดต่อสื่อสารที่เหนือกว่าระบบอื่น ด้วยเทคโนโลยี 2G ที่รวมสัญญาณจากทุกทิศทาง (Multi-path Advantage) เพื่อให้ได้สัญญาณที่เข้ม และ หนาแน่น ตามปกติสัญญาณวิทยุจะมีการสะท้อนกับวัตถุรอบ ข้าง เช่น ภูเขา, ตึก, สิ่งก่อสร้าง, พื้นน้ำ ซึ่งสัญญาณตรง และสัญญาณสะท้อนมักจะรบกวนกัน แต่ระบบ CDMA มีชุดรับสัญญาณถึง 3ชุด (Rake Receiver) ในการรับสัญญาณแต่ละครั้ง โดยเครื่องจะเลือกประมวลสัญญาณที่ชัดเจน ที่สุด ซึ่งเทคนิคการประมวลสัญญาณเสียงของระบบ CDMA จะทำ ให้ได้เสียงที่มีคุณเสียงที่มีคุณภาพ เพื่อการสนทนาที่ชัดเจน และ ลดเสียงรบกวนให้น้อยที่สุด ลดความสิ้นเปลือง พลังงานจากแบตเตอรี่(Power Control) ด้วย เทคโนโลยีการประมวลสัญญาณเสียง และ การตรวจสอบสัญญาณ ระหว่างเครื่องลูกข่าย และ สถานีฐานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการควบคุมกำลังส่ง (Power control) เมื่อเครื่องลูกค่ายอยู่ ใกล ้สถานีฐาน หรือ สัญญาณมีความชัดเจนมาก กำลังส่งจะลดลง โดยการใช้กำลังส่งที่เหมาะสม กับการใช้งาน ทำให้การรบกวนของสัญญาณลดลง และ การส่งสัญญาณแบบยืดหยุ่น ผู้ใช้จึงสามารถสนทนาได้นานขึ้น โดยสิ้นเปลืองพลังงานของแบตเตอรี่น้อยลง ทั้งยังยืดอายุ การใช้งานของแบตเตอรี่ ความปลอดภัยของ สัญญาณออกอากาศ ผู้ ใช้มั่นใจได้ว่าทุกการสื่อสารและการรับส่งข้อมูลจะปลอดภัย และ เป็นส่วนตัว เนื่องจากการ ส่งสัญญาณของระบบ CDMA ที่ใช้รหัส (codes) หลายชุด เช่น PN Long Code, PN Short Code, Walsh code ซึ่ง PN Long Code มีหน่วยของรหัสมากถึง 4.4 ล้านล้านหลัก รหัสเหล่านี้นอกจากจะช่วยในการแบ่งแยกผู้ใช้งานในระบบ CDMA แล้ว ยังจะช่วยป้องกัน การลอกเลียนแบบ และ ลดความผิดพลาดในการสื่อสารของระบบ CDMA อีกด้วย ข้อเสียของ ระบบ CDMA เนื่องจากเทคโนโลยี CDMA ยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ ดังนั้น จึงมีค่า ใช้จ่ายสูง อุปกรณ์รับส่งข้อมูลมีราคาแพงกว่าอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายอื่นๆมาก บลูทูธ (Bluetooth) คือ ระบบการสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็กโทนิคแบบสองทาง ที่ใช้เทคนิคการส่งคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) เป็น สื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร ระหว่างอุปกรณ์ต่างชนิดกัน โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ้งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่เชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ โดยปัจจุบัน ระบบ บลูทูธได้เข้ามาช่วยทำให้การส่งถ่ายข้อมูลที่เป็นภาพ เสียง สะดวกยิ่งขึ้น ระบบการทำงานของ Bluetooth Bluetooth จะใช้สัญญาณวิทยุความถี่สูง 2.4 GHz. แต่จะแยกย่อยออกไป ตามแต่ละประเทศ อย่างในแถบยุโรปและอเมริกา จะใช้ช่วง 2.400 ถึง 2.4835 GHz. แบ่งออกเป็น 79 ช่องสัญญาณ และจะใช้ช่องสัญญาณที่แบ่งนี้ เพื่อส่งข้อมูลสลับช่องไปมา 1,600 ครั้งต่อ 1 วินาที ส่วนที่ญี่ปุ่นจะใช้ความถี่ 2.402 ถึง 2.480 GHz. แบ่งออกเป็น 23 ช่อง ระยะทำการของ Bluetooth จะอยู่ที่ 5-10 เมตร โดยมีระบบป้องกันโดยใช้การป้อนรหัสก่อนการเชื่อมต่อ และ ป้องกันการดักสัญญาณระหว่างสื่อสาร โดยระบบจะสลับช่องสัญญาณไปมา จะมีความสามารถในการเลือกเปลี่ยนความถี่ที่ใช้ในการติดต่อเองอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียงตามหมายเลขช่อง ทำให้การดักฟังหรือลักลอบขโมยข้อมูลทำได้ยากขึ้น ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0689ad70740a4028 http://iam.hunsa.com/ssicomputer/article/22868 http://www.host-basic.com/?p=95 http://school.obec.go.th/wattha/html_learn/2html-tag-mean.html http://www.com5dow.com/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C-it/288-gprs-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html http://my.dek-d.com/tharatornmunyaem/blog/?blog_id=10063690 http://com360.blogspot.com/2011/01/bluetooth-bluetooth.html

ความหมายคำศัพท์ Web Site, Web page, Homepage, Webmaster, WWW และ TCP/IP

เว็บไซต์ (Web Site) คือ แหล่งที่เก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารและสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ ของแต่ละบริษัทหรือหน่วยงานโดยเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) ถึงกัน ตามหลักคำว่า เว็บไซต์จะใช้สำหรับผู้ที่มีคอมพิวเตอร์แบบเซิร์ฟเวอร์หรือจดทะเบียนเป็นของตนเองเรียบร้อยแล้วเช่น http://www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลเป็นต้น เว็บเพจ (Web Page) เป็นหน้าเอกสารเว็บที่สร้างขึ้นด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language)ซึ่งโปรแกรมเบราเซอร์จะทำหน้าที่แปลภาษาHTML ออกมาเป็นหน้าเอกสารทางจอภาพคอมพิวเตอร์ เว็บเพจอาจจะประกอบด้วยข้อความ ภาพกราฟิก หรือภาพเคลื่อนไหว อาจมีเสียงประกอบด้วยก็ได้ ทำให้ดึงดูดความสนใจ และทำให้เวิล์ดไวด์เว็บได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โฮมเพจ(Homepage) คือเว็บเพจหน้าแรกที่เป็นหน้าดัชนีหรือรายการที่บอกรายละเอียดของเว็บไซต์นั้น ๆ เราอาจจะเปรียบโฮมเพจเหมือนหน้าบ้านของเว็บไซต์ก็ได้ เว็บมาสเตอร์ (webmaster) คือบุคคลผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการออกแบบ การพัฒนา การดูแลการตลาด และการบำรุงรักษาเว็บไซต์ โดยเฉพาะบนเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์ เว็บมาสเตอร์สามารถปรับเปลี่ยนหรือจัดการความคิดเห็นของผู้ใช้คนอื่นๆ ได้ เว็บมาสเตอร์อาจเรียกเป็นอย่างอื่นได้เช่น ผู้ดูแลเว็บไซต์ (website administrator) ผู้สร้างเว็บ ผู้พัฒนาเว็บ หรือผู้ออกแบบเว็บ เป็นต้น World Wide Web (WWW) คือ คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษที่ทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้ (กลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่) โดยผ่านทาง บราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน World Wide Web โดยเฉพาะ บราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer ของ และ Netscape ที่มาของ World Wide Webเวิร์ลไวด์เว็บถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมีโครงการทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระหว่างนักวิทยาศาสตร์ในทวีปยุโรป โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ CERN ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผู้ที่ได้รับเกียรติเป็นบิดาของเวิร์ลไวด์เว็บได้แก่ Tim Berners-Lee ทิมได้คิดโครงการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารขึ้้นมา โดยใช้ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ และโครงการของเขาก็ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยจนเขากลายเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ไป ปัจจุบันนี้ทิมทำงานอยู่ที่ World Wide Web Consortium หรือชื่อย่อว่า W3C ซึ่งเป็นองค์กรศูนย์กลางของเครือข่ายใยแมงมุมทำหน้าที่รับรอบมาตรฐานต่างๆของระบบทั้งหมด TCP/IP (Transmitsion Control Protocol/Internet Protocol) เป็นชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่ จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าในระหว่างทางอาจจะผ่านเครือข่ายที่มีปัญหา โปรโตคอลก็ยังคงหาเส้นทางอื่นใน การส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้ ชุดโปรโตคอลนี้ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี 1960 ซึ่งถูกใช้เป็นครั้งแรกในเครือข่าย ARPANET ซึ่งต่อมาได้ขยายการ เชื่อมต่อไปทั่วโลกเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ TCP/IP เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน จุดประสงค์ของการสื่อสารตามมาตรฐาน TCP/IP 1. เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างระบบที่มีความแตกต่างกัน 2. ความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย เช่นในกรณีที่ผู้ส่งและผู้รับยังคงมีการติดต่อกันอยู่ แต่โหนดกลางทีใช้เป็นผู้ช่วยรับ-ส่งเกิดเสียหายใช้การไม่ได้ หรือสายสื่อสารบางช่วงถูกตัดขาด กฎการสื่อสารนี้จะต้องสามารถ จัดหาทางเลือกอื่นเพื่อทำให้การสื่อสารดำเนินต่อไปได้โดยอัตโนมัติ 3. มีความคล่องตัวต่อการสื่อสารข้อมูลได้หลายชนิดทั้งแบบที่ไม่มีความเร่งด่วน เช่น การจัดส่งแฟ้มข้อมูล และแบบ ที่ต้องการรับประกันความเร่งด่วนของข้อมูล เช่น การสื่อสารแบบ real-time และทั้งการสื่อสารแบบเสียง (Voice) และข้อมูล (data) ที่มา http://birdo51.wordpress.com/2009/11/30/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AE%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%88-%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%80/ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C http://www.d-looks.com/showblog.php?Bid=11642 http://computernetwork.site40.net/chapter9-1.html

Internet, Intranet, Domain Name, Host

อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุดอินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิด อินทราเน็ต (Intranet) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงการสื่อสารด้วยระบบโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี(TCP/IP) ซึ่งเป็นระบบโปรโตคอลในการสื่อสารของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ดังนั้น โปรแกรมเพื่อการสื่อสารบนเครือข่ายอินทราเน็ตจึงเป็นซอฟต์แวร์ชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในการสื่อสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างเครือข่ายอินทราเน็ตกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมทั้งโลก อินเทอร์เน็ตไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง และไม่มีใครสามารถควบคุมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ แต่สำหรับเครือข่ายอินทราเน็ตมีเจ้าของแน่นอน และถูกควบคุมโดยองค์กรหรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของ อินทราเน็ตเกิดจากความคิดของระบบอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดจากทุกมุมโลกเข้าด้วยกันได้ รวมทั้งการที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลจากที่ต่าง ๆ การมีบริการที่เป็นประโยชน์และความสามารถในการแสดงผลได้ตามต้องการแบบ 4ท (ที่เดียวทั่วโลก ทันที ทุกเวลา) นี้เอง ทำให้เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีของระบบดังกล่าวมาใช้งานในหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งเมื่อย่อระบบอินเตอร์เน็ตลงมาในองค์กรก็เป็นระบบอินทราเน็ตนั่นเอง ดังนั้นอินทราเน็ตต้องมีทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตถือเป็นการปฎิรูประบบงานในองค์กรใหม่และก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระบวนการและขั้นตอนการทำงานในปัจจุบันและอนาคต ในปัจจุบันได้มีผู้ให้คำจำกัดความของอินทราเน็ตไว้ต่าง ๆ ดังนี้ - อินทราเน็ตเป็นระบบเครือข่ายภายในที่เชื่อมโยงเครือข่ายย่อยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และให้ทุกคนในองค์กรใช้ร่วมกัน - อินทราเน็ต เป็นรูปแบบของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในองค์กร - อินทราเน็ต เป็นคำที่สื่อความหมายถึงการนำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้ เพื่อตอบสนองระบบงานภายในองค์กรโดยเฉพาะ - อินทราเน็ตเป็นระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานเฉพาะในองค์กร - อินทราเน็ต เป็นการนำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ ในองค์กรหรือหน่วยงาน - อินทราเน็ต เป็นการรวมสารสนเทศที่มีอยู่ โดยวิธีการปรับปรุงให้เข้าถึงและกระจายข้อมูลผ่านไอพี เครือข่ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวก ปรับปรุงวิธีการเข้าถึงสารสนเทศ การกระจายใช้สารสนเทศ และการบริหารสารสนเทศ - อินทราเน็ต เป็นการนำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ต ที่ได้รับการยอมรับและเป็นมาตรฐานในการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน มาประยุกต์ใช้ในองค์กร หรือหน่วยงาน จากนานาทัศนะดังกล่าวข้างต้น สามารถจำกัดความได้ว่าอินทราเน็ต เป็นระบบเครือข่ายภายใน ที่นำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งานภายในองค์กร โดยการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายย่อยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และนำมาใช้เพื่อตอบสนองระบบงานภายในองค์กรโดยเฉพาะและให้ทุกคนในองค์กรใช้ร่วมกัน อินทราเน็ตจึงถือว่าเป็น Corparate Portal หรือเว็บท่าองค์กร เป็นที่ที่ทุกคนต้องมาใช้เพื่อทำงานตามหน้าที่ e-company อี-คอมพานี (e-company) หมายถึง องค์กรที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกรรมจากระบบเดิม ซึ่งใช้เอกสารในการประสานงานกัน มาเป็นระบบที่ใช้เอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยประยุกต์เทคโนโลยีในปัจจุบัน ปรับให้เข้ากับการดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กร ซึ่งจะทำให้การประสานงานกันทั้งภายในองค์กรเองและต่างองค์กรมีความสะดวกรวดเร็ว เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับบริษัทคู่แข่งและทำให้บริษัทเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนยิ่งขึ้น ปัจจุบันธุรกิจแบบเดิมที่เราคุ้นเคยกำลังหมดยุคไปทุกวันนี้การแข่งขันในตลาดโลกเริ่มรุนแรงขึ้น ไอที มีบทบาทมากขึ้น ดังนั้นบุคลากรด้านไอทีที่มีความสามารถ รวมถึงการติดต่อสัมพันธ์ทางการค้าที่ดีต่อกันระหว่าง ลูกค้าและซัพพลายเออร์ คุณภาพของการบริการจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีต่อการเจริญเติบโตของบริษัทฯ ต่างจากในอดีตที่เป็นเพียงส่วนเสริมของการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เท่านั้น อี-คอมพานี เป็นการรวมเอาการดำเนินธุรกิจขององค์กรกับเว็บเทคโนโลยีเพื่อสร้างจุดแข็งให้กับบริษัทฯ เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า และลดค่าใช้จ่ายในส่วนปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ กลางและเล็ก รวมไปถึงธุรกิจเน็ตเจเนอเรชัน อันหมายถึงบริษัทในโลกยุคใหม่ที่ไม่มีข้อจำกัดทางด้านขนาดของการลงทุนจำนวนพนักงาน หรือแม้แต่ช่องทางในการทำธุรกิจ ที่ทุกแห่งเริ่มต้นในจุดเดียวกันแต่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลกและไม่มีข้อจำกัดของระยะทางอีกต่อไป การทำธุรกิจบนระบบคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์กอย่างอีคอมเมิร์ซ และอี-บิซิเนส ที่เริ่มแพร่หลาย โดยเกิดจากกระแสการเจริญเติบโตของอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็ว อัตราความเจริญเติบโตของสังคมบนอินเทอร์เน็ตที่มีมากขึ้นอย่างทวีคูณ ทำให้ธุรกิจทุกประเภทต้องแสวงหาแนวทางการทำธุรกิจใหม่ หรือไม่ก็ต้องหาทางผนวกธุรกิจที่มีอยู่เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ โดยนอกจากต้องปรับปรุงระบบธุรกิจที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิผลสูงขึ้นก็ยังต้องพัมนาระบบไอทีในองค์กรควบคู่กันไปด้วย ดังนั้น อี-คอมพานีต้องมีอินทราเน็ต ที่นำเทคโนโลยีของระบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งานภายในองค์กร โดยปรับให้เข้ากับการดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กรด้วยซอฟต์แวร์ Corporate Portal อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่าย จะต้องมีซอฟต์แวร์มาจัดระบบ ซอฟต์แวร์ที่ว่านี้จะทำให้เกิดเว็บท่าองค์กร Corparate Portal ซึ่งเป็นจุดที่ทุกคนในองค์กรจะต้องมาพบ มาใช้เพื่อการทำงาน การสื่อสาร การเรียนรู้ และการสันทนาการประเภทหลัก ๆ ของแอปบลิเคชั่นที่ประกอบเป็นเว็บท่าบริษัทมีทั้งส่วนทั่วไป และส่วนเฉพาะกิจกับองค์กรนั้น ซอฟต์แวร์เว็บท่าองค์กรจึงพอสรุปเป็นประเภท ดังนี้ Document Access - Product Information - Search Engine - Policies and Procedures - Phone Directory - Newsletters - Project information - Official Travel Guide - Employee Infobases - Catalogs - Newswire Clippings - Software Libraries - Art Libraries Application Gateways - Access to Legacy Systems (HR,Accounting) - Access to Data Warehouse - Access to Design Manaagement - Product Support Databases - Customer support - Sales & Marketing Support Centers - Training and Registration - Subscription Services Group Wares - e-mail - Conferencing - Calendar Management - Electronic meeting - Workflow Management - Voice Video Conferencing - Whiteboard - Document Sharing - Chat Knoledge Application - Knowledge Management - Information Mapping - Decision - Support - Knowledge Filtering - Knowledge Preservation - e-Learning - Experience Factory การกระจาย Informantion การที่จะทำให้ข้อมูลขององค์กรหาง่ายใช้งานได้สะดวกเป็นวัตถุประสงค์หลักของอินทราเน็ต ดังนั้นจึงจำเป็นต้องควบคุมเนื้อหาของสารสนเทศในองค์กรให้เหมาะสม ซึ่งรูปแบบการใช้สารสนเทศแบ่งได้เป็น 3 อย่าง คือ สารสนเทศทางการ สารสนเทศกลุ่ม สารสนเทศไม่เป็นทางการ - สารสนเทศทางการ ได้แก่ สารสนเทศที่เกี่ยวกับกฎระเบียบบริษัทฯ ที่ใช้ในองค์กรประวัติ ผลงานล่าสุด รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ การบริการต่าง ๆ เป็นต้น - สารสนเทศกลุ่ม ได้แก่ สารสนเทศที่ใช้ภายในกลุ่ม/แผนก, กลุ่มงานโครงการ เป็นเครื่อง มือในการติดต่อประสานงานกัน การกระจายความคิด ร่วมมือกันในการทำกิจกรรมหรือการจัดการงานต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานแบบเดิมที่ต้องการส่งเอกสาร ถึงกันไม่ว่าจะเป็นการถ่ายเอกสารหรือ FAX ให้กันเป็นต้น - สารสนเทศที่ไม่เป็นทางการ ได้แก่ สารสนเทศที่ใช้ในการบริหารงาน การปฏิบัติงานและ การใช้สารสนเทศในการพัฒนาเสริมสร้างความรู้ ทักษะในแขนงวิชาต่าง ๆ ให้บังเกิดผลสำเร็จ สามารถนำไปใช้ในการสนับสนุนการทำงานในแต่ละฝ่ายงานต่าง ๆ การที่เราจะมี Information ที่ดีมีประโยชน์นั้นจะมีส่วนในการประสานงานกับงานด้านการเก็บข้อมูลทุกชนิด ทุกประเภท เก็บข้อมูลอย่างมีระเบียบ แบบแผน ซึ่งจะทำให้ได้สารสนเทศนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลง Work Process เพื่อลดขั้นตอนงานที่ไม่จำเป็น และให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน จำเป็นต้องปรับปรุงองค์กรและคนในองค์กรด้วย ประโยชน์ ประโยชน์ และเป้าหมายของระบบเว็บท่าองค์กรทั้งต่อภายในองค์กร และนอกองค์กรมีมากมายสามารถแยกเป็นหัวข้อได้ดังนี้ 1. เพื่อสร้างลูกค้า เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ ทำการตลาดอย่างรวดเร็ว เพื่อช่วยให้ลูกค้าทำงานได้ง่ายขึ้น และสุดท้ายเกิดกำไรกับบริษัทฯ โดยใช้ต้นทุนต่ำ 2. กระจายสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในพื้นที่ที่กว้างมากเท่าที่ต้องการ เช่น บริษัทฯ อีซูซุ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น และมีสาขามากมายในประเทศต่าง ๆ สามารถทำให้มี สารสนเทศเดียวกัน ใช้ร่วมกัน และยังสามารถตัดขั้นตอนงานที่ซ้ำซ้อนลงได้ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3. การเชื่อมต่อระบบกับธุรกิจอื่น และสามารถสร้างรายได้ในช่องทางใหม่ อีกทั้งยังช่วยผลักดันและเป็นหนทางให้บริษัทเติบโตหรือขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว 4. ช่วยให้การประสานงานดีขึ้น การจัดทำ Web จำนวนมากนอกจากช่วยการประสานงานภายในแล้ว หุ้นส่วนอื่น ๆ ก็ได้รับประโยชน์ด้วย ช่วยให้มีการกระจายข่าวสารถึงกันได้อย่างรวดเร็วขึ้น 5. ช่วยในเรื่องการจัดองค์ความรู้ เริ่มตั้งแต่หน่วยงานย่อย ๆ รวมกันเป็นรูปบริษัทฯ บริษัทในเครือหุ้นส่วนสารสนเทศกระจายถึงกัน ส่งผลให้เกิดเป็นการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ ทำให้เกิดเป็นสังคมข้อมูลข่าวสารที่กว้างสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น 6. เป็นช่องทางหาธุรกิจใหม่ อุปสรรคของการทำอินทราเน็ตและเว็บท่าบริษัท บริษัทฯ หรือองค์กรหลาย ๆ องค์กร ที่นำอินทราเน็ตมาใช้ บางบริษัทก็ประสบความสำเร็จ บางบริษัทก็ประสบกับความล้มเหลว ซึ่งมีสาเหตุต่าง ๆ พอสรุปได้ดังนี้ - ผู้บริหารไม่ได้ให้ความสนใจอย่างจริงจังผู้บริหารไม่ปรับตัว ทำให้พนักงานไม่กระตือรือร้นในการใช้ระบบ - ข้อมูลที่อยู่บนระบบไม่ทันสมัย ทำให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือ - ปัญหาเครื่องทำงานช้า ผู้ใช้เสียเวลารอข้อมูลนาน - ข้อมูลไม่น่าสนใจ ใช้ยาก ไม่มีเครื่องช่วยให้เข้าหา Information ดังนั้นการที่จะให้ ระบบอินทราเน็ตที่พัฒนาขึ้น ประสบผลสำเร็จได้ ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญด้วย โดยถือเป็นนโยบายหลัก โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น จัดทำ ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือกันด้วยความเต็มใจ สะท้อนให้เกิดความร่วมมือกันด้วยความเต็มใจ สะท้อนให้เกิดประโยชน์กับบริษัทฯ ในภาพรวม โดยได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากผู้บริหาร โดเมนเนม ( Domain Name)ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่าย ทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันที โดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1. โดเมน 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน 2. โดเมน 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ โดนเมนเนม 2 ระดับ จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.b2ccreation.com ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้ * .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์ * .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร * .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย * .edu คือ สถาบันการศึกษา * .gov คือ องค์กรของรัฐบาล * .mil คือ องค์กรทางทหาร โดนเมนเนม 3 ระดับ จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ * .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์ * .ac คือ สถาบันการศึกษา * .go คือ องค์กรของรัฐบาล * .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย * .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร * .th คือ ประเทศไทย * .cn คือ ประเทศจีน * .uk คือ ประเทศอังกฤษ * .jp คือ ประเทศญี่ปุ่น * .au คือ ประเทศออสเตรเลีย โดนเมนเนม ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่มองข้ามไม่ได้เลยสำหรับเว็บไซต์นั้นๆ โดยเฉพาะกับการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ท ถ้าได้ชื่อที่เฉพาะเจาะจง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้วนั้น จะทำให้โดเมนเนม หรือ เว็บไซต์นั้นๆ จะได้รับความสนใจและเป็นที่จดจำได้ง่ายไม่ใช่กับผู้เข้าชมหรือ กลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาชมเว็บไซต์ผ่านโดมเนมเท่านั้นยังรวมไปถึง Search Engine ชื่อดังต่างๆ เช่น Google Yahoo MSN เป็นต้น ที่จะเข้ามาแวะเวียนเข้ามาทำ index กับเว็บเพจหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์ของเรา หลังจากจดโดนเมนเนมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญลำดับถัดมานั้นก็คือ โฮสติ้ง (Hosting) หรือ ที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเรานั้นเอง ซึ่งโฮสติ้งแต่ละที่จะมี DNS หรือ Name Server ที่ทางผู้ให้บริการโฮสติ้ง จะเป็นคนกำหนดและแจ้งให้เราทราบเพื่อเอาไปใส่ให้โดมเมเนมของเรา เช่น DNS ของ B2C Creation จะมีชื่อว่า NS1.B2CCREATION.COM และ NS2.B2CCREATION.COM ซึ่งคุณไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้ เพราะถ้าคุณจด Domain Nameและใช้บริการโฮสติ้งกับผู้ให้บริการคนเดียวกันจะไม่มีปัญหาอะไรเลยครับ หรือแม้ว่าจะเป็นคนละคนกัน เพียงแค่นำ DNS ที่ได้ ไประบุให้กับโดเมนเนมนั้นตามที่ได้อธิบายไปแล้ว Host ความหมายหลายลักษณะซึ่งแตกต่างกันเล็กน้อย 1. บนอินเตอร์เน็ต คำว่า host หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าถึงแบบสองทาง (two way access) อย่างเดิมที่ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในอินเตอร์เน็ต host มีการเจาะจงด้วยหมายเลขของ local หรือ host พร้อมกับหมายเลขของเครือข่ายในรูปของ IP address แบบไม่ซ้ำ ถ้าใช้การติดต่อโปรโตคอลแบบ point-to-point ไปยังผู้ให้บริการ เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมี IP address แบบไม่ซ้ำ ตลอดช่วงการติดต่อในครั้งนั้นกับอินเตอร์เน็ต ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องดังกล่าวมีฐานะเป็น host ในระยะเวลานั้น ดังนั้น host จึงเป็น node ในเครือข่าย 2. ใน IBM และระบบคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม host คือเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมทำให้ความหมายนี้คือ เครื่องเมนเฟรมมีเครื่องลูกข่ายที่ติดต่อและการใช้บริการจาก host 3. ในความหมายอื่น ๆ คำนี้โดยทั่วไปหมายถึงอุปกรณ์หรือโปรแกรม ที่เป็นผู้ให้บริการกับอุปกรณ์ หรือโปรแกรมที่มีความสามารถต่ำกว่า ที่มา http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page21.htm http://www.b2ccreation.com/content/knowledgebase/kb_view.asp?kbid=19 http://tuinuii.wordpress.com/2009/11/06/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95-intranet%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/ http://www.com5dow.com/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C-it/1125-host-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้ 1. เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น 2. เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 3. เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น 4. เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น องค์ประกอบของการสื่อสาร 1. ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล 2. ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล 3. ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว 4. สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ 5. โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส โทรสาร (Facsimile หรือ Fax) เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา วอยซ์เมล (Voice Mail) เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าวอยซ์เมล์บ็อกซ์ เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs) เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย กรุ๊ปแวร์(groupware) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT) ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI) เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID) เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ชนิดของสัญญาณข้อมูล 1. สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal) เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ 2. สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal) สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem) โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ 1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission) 2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission) 3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission) ตัวกลางการสื่อสาร 1. สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media) สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้ - สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable) สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ - สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว - สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable) สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก 2. สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น - แสงอินฟราเรด (Infrared) เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์ - สัญญาณวิทยุ (Radio Wave) เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ - ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล - การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication) เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์ หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล 1. ราคา 2. ความเร็ว 3. ระยะทาง 4. สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น 5. ความปลอดภัยของข้อมูล มาตรฐานเครื่อข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols) 1. บลูทูธ (Bluetooth) 2. ไวไฟ (Wi-Fi) 3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX) ให้นักเรียนตอบคำถามและแสดงความเห็นในประเด็นต่อไปนี้ (คะแนน 10 คะแนน )เขียนตัวบรรจง 1.นักเรียนคิดว่าการสื่อข้อมูล ในปัจจุบันมีความสำคัญและประโยชน์อย่างไร 2.การสื่อสารข้อมูลต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานและเกี่ยวข้องกับข่าวสารประเภทใด 3.การสื่อสารข้อมูลมีรูปแบบ/ทิศทางการสื่อสารอย่างไร มีอุปกรณ์เครื่องมือใด 4.นักเรียนคิดว่าการสื่อสารข้อมูลมีโทษอย่างไร 5.บลูทูธ (Bluetooth) ไวไฟ(WiFi) ไว-แมกซ์ (Wi-max) มีลักษณะอย่างไรมีวิะการใช้อย่างไร ให้นักเรียนอ่านและคิดตอบคำถามเหล่าโดยการสร้างBlog ของนักเรียนและสืบค้นเรื่องในข้อ 5 อย่าลืมแหล่งข้อมูลที่นักเรียนนำมาด้วยละ แหล่งที่มา http://www.thaigoodview.com/node/53181